วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

พระประจำวันเสาร์


(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)


คัดลอกจาก www.dhammathai.org/thailand/phraofday_sat.php

"ปางนาคปรก"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร

ประวัติย่อ...
ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์..
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง 
ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

สวดวันละ ๑๐ จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน
ผู้ที่เกิดวันเสาร์์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว

*1234

*1234

พระประจำวันศุกร์

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
 
 





คัดลองจาก  www.dhammathai.org/thailand/phraofday_fri.php

"ปางรำพึง"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

ประวัติย่อ...
ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนำออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกัน จึงทรงพระดำริที่จะแสดงธรรม ตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆ
 
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์...

อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห


หรือ (ใน video เป็นบทนี้)



ยัสสานุสสะระเณนาปิ 
ปะติฏฐะมะคัจฉันติ 
สัพพุปัททะ ชาลัมหา 
คะณะนา นะจะมุตตานัง 
อันตะลิกเขปิ ปาณิโน 
ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา 
ยักขะโจราทิ สัมภะวา  
ปะริตตันตัม ภะณามะ เห ฯ

จาก www.thenpoor.ws/khatha/muntra/pra_friday.html


สวดวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน
ผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สีขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก


*12345

*12345

บทเจริญเมตตา

บทถวายกุศลผลบุญแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมถวายกุศลผลบุญที่ได้บำเพ็ญในครั้งนี้ แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพุทธบูชา ขอพระองค์ท่านได้โปรดโมทนาบุญกุศลของข้าพระพุทธเจ้านี้ เมื่อพระองค์ท่านโมทนาแล้ว  ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมรับผลบุญกุศลนี้
อุทิศแก่...............
ขอให้..............
จงโมทนาบุญกุศลนี้ และได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด และขอผลบุญกุศลนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพระพุทธเจ้า ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ.
(น.96 หนังสือ สวดชาตินี้ ดีกว่ารอชาติหน้า)

แผ่เมตตาแก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ                     ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ             ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ                  ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ     ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ       ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ
                                                             รักษากาย วาจา ใจ ให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

*12345

*12345
http://www.watnamprai.com/index.php?mo=3&art=211221


แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา           สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ        จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ      จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ                         จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ   จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

*12345

*12345

http://watnamprai.igetweb.com/index.php?mo=3&art=211219

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

พระประจำวันพุธ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)

 
"ปางอุ้มบาตร"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว

ประวัติย่อ...
ครั้งหนึ่ง หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเวสสันดรชาดก โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติทั้งหลาย บรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่นโสมนัส จนลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระพราชวัง ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเสด็จออกรับบิณฑบาตจากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสดุ์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน)...
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห

สวดวันละ ๑๗ จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป
ผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง
*123456

*123456


"ปางปาลิไลยก์ (พระประจำวันพุธกลางคืน)"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

ประวัติย่อ...
ครั้งหนึ่ง พระภิกษุในวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพีทะเลาะกันด้วยเรื่องพระวินัย พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้สามัคคีกันเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเชื่อ เพราะต่างฝ่าย ต่างยึดถือในความคิดของตนเป็นใหญ่ พระพุทธองค์ ทรงรอาพระทัยจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวัน แถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ ณ ที่นั่นมีช้างชื่อปาลิเลยยะและลิงตัวหนึ่งคอยอุปัฏฐากอยู่

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางคืน)...

กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ

สวดวันละ ๑๒ จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดี
ผู้ที่เกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืน นี้ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสเมฆหมอก สีเทา หรือสีดำหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สแดง สีขาวนวล สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ พึงเว้นสีเหลือง

*123456

*123456




พระประจำวันพฤหัสบดี

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
(คัดลอกจาก http://www.dhammathai.org/thailand/phraofday_tue.php)


"ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

ประวัติย่อ...
ภายหลังจากที่พระมหาบุรุษได้กำราบพระยามารลงได้แล้ว พระองค์จึงได้ตั้งพระทัยเจริญสมาธิจนได้ญาณขั้นต่างๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา)

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี...
อัตถิโลเก สีละคุโณ สัจจังโสเจยยะ นุททะยา เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมัพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะนิกขันตา ชาตะเวทะ ปฏิกกะมะ สะหะ สัจเจกะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ




(ใน video เป็นบทนี้ จาก website : http://www.thenpoor.ws/khatha/muntra/pra_thursday.html)
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร    เยนะ สังวิหิตารักขัง
จิรัสสัง วายะมันตาปิ        พรัหมะมันตันติ อักขาตัง
นิพพัตตัง โมระโยนิยัง     มะหาสัตตัง วะเนจะรา
เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง       ปะริตตันตัม ภะณามะ เห ฯ

สวดวันละ ๑๙ จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไพล ส่วนสีรองลงมาคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สีกรมท่า และสีน้ำเงินแก่

*123456

*123456

พระประจำวันอังคาร

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)


(คัดลอกจาก http://www.dhammathai.org/thailand/phraofday_tue.php)


"ปางโปรดอสุรินทราหู (ปางไสยาสน์)"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)

ประวัติย่อ...
สมัยหนึ่ง เมือ่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหูจอมอสูร ซึ่งสำคัญว่ามีร่างโตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิจอมอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าจอมอสูร จอมอสูรจึงละทิฐิยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร...
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห

ผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล

*123456

*123456

พระประจำวันจันทร์

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
(คัดลอกจาก http://www.dhammathai.org/thailand/phraofday_mon.php)

"ปางห้ามสมุทร"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง (บางตำราใช้พระปางห้ามพยาธิเป็นพระประจำวันจันทร์)

"ปางห้ามญาติ"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง

ประวัติย่อ...
ครั้งหนึ่ง ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวี เจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบบังคมทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ เจริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็หายสิ้นจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์...
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

สวดวันละ ๑๕ จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืองอ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง

*123456

*123456

พระประจำวันอาทิตย์

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
(คัดลอกจาก websitehttp://www.dhammathai.org/thailand/phraofday_sun.php)

"ปางถวายเนตร"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์

ประวัติย่อ...
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จออกไปจากภายใต้ร่มโพธิ์ไปประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ทอดพระเนตรพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อรำลึกถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้านประทานร่มเงา ให้ความชุ่มเย็น เป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์...
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา, นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา

สวดวันละ ๖ จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน

*1234567

*1234567

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

สัพพโรควินิมุตโต

สัพพโรควินิมุตโต

สัพพะโรคะวินิมุตโต,
จงพ้นจากโรคทั้งปวงด้วย,
สัพพะสันตาปะวัชชิโต,
จงพ้นจากความเดือดร้อนทั้งปวงด้วย,
สัพพะเวระมะติกกันโต,
จงล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวงด้วย,
นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ.
ท่านจงเป็นผู้ดับทุกข์ทั้งปวงด้วย.

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

มงคลจักรวาฬน้อย


(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)

มงคลจักรวาฬน้อย

สัพพะพุทธานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง,
สัพพะธัมมานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง,
สัพพะสั งฆานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง,
พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง,
ติณณัง ระตะนานัง อานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งระตะนะสาม คือ,
พุทธรตนะ ธรรมรตนะ สังฆรตนะ,
จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พัน,
ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฏก,
ชินะสาวะกานุภาเวนะ,
ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระชินเจ้า,
สัพเพ เต โรคา,
สรรพโรคทั้งหลายของท่าน,
สัพเพเต ภะยา,
สรรพภัยทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต อันตะรายา,
สรรพอันตรายทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต อุปัททะวา,
สรรพอุปัทวะทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เตทุนนิมิตตา,
สรรพนิมิตร้ายทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต อะวะมังคะลา
สรรพอวมงคลทั้งหลายของท่าน,
วินัสสันตุ,
จงพินาศไป,
อายุวัฑฒะโก,
ความเจริญอายุ,
ธะนะวัฑฒะโก,
ความเจริญทรัพย์,
สิ ริวัฑฒะโก,
 ความเจริญศิริ,
ยะสะวัฑฒะโก,
ความเจริญยศ,
พะละวัฑฒะโก,
ความเจริญกำลัง,
วัณณะวัฑฒะโก,
ความเจริญวรรณะ,
สุขะวัฑฒะโก,
ความเจริญสุข,
โหตุ สัพพะทา,
จงมีแก่ท่านในกาลทั้งปวง,
ทุกขะโรคะภะยา เวรา,
ทุกข์โรคภัย แลเวรทั้งหลาย,
โสกา สัตตุ จุปัททะวา,
ความโศกศัตรูแลอุปัทวะทั้งหลาย,
อะเนกา อันตะรายาปิ,
ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นอเนก,
วินัสสันตุ จะ เตชะสา,
จงพินาศไปด้วยเดช,
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง,
ความชำนะความสำเร็จทรัพย์ลาภ,
โสตถิ ภาคยัง สุขัง พะลัง,
ความสวัสดีมีโชคความสุขและกำลัง,
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ,
ศิริอายุแลวรรณะ,
โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา,
โภคะความเจริญแลความเป็นผู้มียศ,
สะตะวัสสา จะ อายู จะ,
แลอายุยืนนานร้อยปี,
ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต.
แลความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่จงมีแก่ท่านในกาลทุกเมื่อเทอญ.
**********
บทความ "ตำนานมงคลจักรวาฬใหญ่" พูดถึงการสวดมงคลจักรวาฬน้อยว่า
...
นิยมใช้เป็นคาถาสวดอนุโมทนาอวยพรในตอนเช้า ต่อ ยถา สัพพี ในเวลาพระฉันเช้าเสร็จแล้ว ไม่นิยมให้สวดเวลาเย็น เหมือนมงคลจักรวาฬใหญ่
... มงคลจักรวาฬเดิมเป็นชื่อของจักรวาฬ คือส่วนหนึ่งของพื้นโลกที่เราอยู่อาศัยนี้ ด้วยจักรวาฬนั้นมีมากจักรวาฬด้วยกัน จักรวาฬหนึ่งๆก็มีชื่ออยู่อย่างหนึ่ง แต่สำหรับจักรวาฬนี้ เรียกว่า มงคลจักรวาฬด้วยเป็นจักรวาฬที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบังเกิดขึ้น
ความ จริง เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบังเกิดขึ้นและประทับอยู่แสดงธรรมสั่งสอนประชา สัตว์ ตลอดเสด็จปรินิพพาน อยู่ในจักรวาฬนี้ ดังนั้น จักรวาฬนี้จึงเรียกว่า มงคลจักวาฬนี้ เป็นหลักยืนยันได้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปมากแล้วก็ดี หรือที่จะมาตรัสรู้ในกาลต่อไปอีกก็ดี พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ๆจะต้องมาบังเกิดเฉพาะในจักรวาฬนี้จักรวาฬ เดียว ดังนั้น จักรวาฬนี้ นักปราชญ์จึงขนานนามว่า มงคลจักรวาฬคือเป็นจักรวาฬที่รวมอยู่แห่งสรรพมงคลอันสูงสุด ทั้งสิ้น ...
*123456

*123456
*123456
*123456

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

ติโรกุฑฑกัณฑคาถา

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
ติโรกุฑฑกัณฑคาถา

อะทาสิ เม อะกาสิเม ญาติมิตตา สะขา จะเม,
บุคคลมาระลึกถึงอุปการะอันท่านได้ทำแก่ตนในกาลก่อนว่า,
ผู้นี้ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา, ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของเรา,
ผู้นี้เป็นญาติเป็นมิตรเป็นเพื่อนของเรา, ดังนี้,

เปตานัง ทักขิณัง ทัชชา ปุพเพ กะตะนะมะนุสสะรัง,
ก็ควรให้ทักษิณาทาน, เพื่อผู้ละโลกนี้ไปแล้ว.

นะ หิ รุณณัง วาโสโก วา ยาวัญญา ปะริเทวะนา.
การร้องไห้ก็ดี, การเศร้าโศรกก็ดี,
หรือการร่ำไรรำพันอย่างอื่นก็ดี, บุคคลไม่ควรทำทีเดียว,

นะตัง เปตานะมัตถายะ.
เพราะว่าการร้องไห้เป็นต้นนั้น,
ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติทั้งหลาย, ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว.

เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย,
ญาติทั้งหลาย, ย่อมตั้งอยู่อย่างนั้น,

อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา,

ก็ทักษิณาทานนี้แล, อันท่านให้แล้ว

สังฆัมหิ สุปะติฏฐิตา,
ประดิษฐานไว้ดีแล้วในสงฆ์,

ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปปะกัปปะติ,
ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วนั้น,
ตลอดกาลนาน ตามฐานะ,

โส ญาติธัมโม จะ อะยัง นิทัสสิโต,
ญาติธรรมนี้นั้น, ท่านได้แสดงให้ปรากฏแล้ว,

เปตานะ ปูชา จะกะตา อุฬารา,
แลบูชาอันยิ่งท่านก็ได้ทำแล้ว, แก่ญาติทั้งหลาย,
ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว,

พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง,
กำลังแห่งภิกษุทั้งหลาย, ชื่อว่าท่านได้เพิ่มให้แล้วด้วย,

ตุมฺเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติ.
บุญไม่น้อย, ท่านได้ขวนขวายแล้ว, ดังนี้แล.

*123456

*123456

กาลทานสุตตคาถา

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
กาลทานสุตตคาถา

กาเล ทะทันติ สะปัญญา วะทัญญู วีตะมัจฉะรา,
กาเลนะทินนัง อะริเยสุ อุชุภูเตสุ ตาทิสุ,
วิปปะสันนะมะนา ตัสสะวิปุลาโหติ ทักขิณา,

ทายกทายิกาทั้งหลายเหล่าใด,
เป็นผู้มีปัญญามีปรกติรู้จักคำพูด,
ปราศจากตระหนี่มีใจเลื่อมใสแล้วในพระอริยะเจ้าทั้งหลาย,
ซึ่งเป็นผู้ตรงคงที่,
บริจาคทานทำให้เป็นของที่ตนถวายโดยกาลนิยม,
ในกาลสมัยทักษิณาทานของทายกทายิกานั้น,
เป็นสมบัติมีผลไพบูลย์,

เย ตัตถะ อะนุโมทันติ เวยยาวัจจัง กะโรนติ วา,
ชนทั้งหลายเหล่าใด, อนุโมทนา,
หรือช่วยกระทำการขวนขวายในทานนั้น,

นะ เตนะ ทักขิณา โอนา,
ทักษิณาทานของเขามิได้บกพร่องไปด้วยเหตุนั้น,

เตปิ ปุญญัสสะ ภาคิโน,
แม้ชนเหล่านั้น, ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญนั้นด้วย,

ตัสมา ทะเท อัปปะฏิวานะจิตโต ยัตถะ ทินนัง มะหัปผะลัง,
เหตุนั้น, ทายกทายิกาควรเป็นผู้มีจิตไม่ท้อถอย,
ให้ในที่ใดมีผลมาก, ควรให้ในที่นั้น,

ปุญญานิ ปะระโลกัสมิง ปะติฏฐา โหนติ ปาณินันติ.
บุญย่อมเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย, ในโลกหน้า, ดังนี้.

*1234567

*1234567

ข้อมูลเพิ่มเติม
กาลทานสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ทายก ย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑ ทายกย่อมให้ทานในสมัย ข้าวแพง ๑ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้แล ฯ ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใด ย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น, แม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก ฯ
จาก
http://www.climbvid.com/bouldering/-XBuLoTce3CY#.U0oB01d9KSo


*12345

*12345

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557

อัคคัปปสาทสุตตคาถา

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
อัคคัปปสาทสุตตคาถา

อัคคะโต เว ปะสันนานัง, อัคคัง ธัมมัง วิชานะตัง,
เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ,
เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ,
อัคเค พุทเธ ปะสันนานัง,
เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ,
ทักขิเณยเย อะนุตตะเร,
ซึ่งเป็นทักขิไณยยบุคคลอันเยี่ยมยอด,
อัคเค ธัมเม ปะสันนานัง, วิราคูปะสะเม สุเข,
ลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศ,
ซึ่งเป็นธรรมอันปราศจากราคะและสงบระงับเป็นสุข,
อัคเค สังเฆ ปะสันนานัง,
เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ,
ปุญญักเขตเต อะนุตตะเร,
ซึ่งเป็นบุญญะเขตอย่างยอด,
อัคคัสสะมิง ทานัง ทะทะตัง,
ถวายทานในท่านผู้เลิศ,
อัคคัง ปุญญัง ปะวัฑฒะติ,
บุญที่เลิศย่อมเจริญ,
อังคัง อายุ จะ วัณโณ จะ,
อายุวรรณะที่เลิศ,
ยะโส กิตติ สุขัง พะลัง,
และยศเกียรติคุณสุขะพละที่เลิศย่อมเจริญ,
อัคคัสสะ ทาตา เมธาวี, อัคคะ ธัมมะสะมาหิโต,
ผู้มีปัญญาตั้งมั่นในธรรมอันเลิศแล้ว,
และทานแก่ท่านผู้เป็นบุญญะเขตอันเลิศ,
เทวะ ภูโต มะนุสโส วา,
จะไปเกิดเป็นเทพยดาหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม,
อัคคัปปัตโต ปะโมทะตีติ.
ย่อมเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่, ดังนี้ .

*1234567

*1234567

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

โภชนทานานุโมทนาคาถา

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
 
โภชนทานานุโมทนาคาถา
อายุโท พะละโท ธีโร,
ผู้มีปัญญา ให้อายุ ให้กำลัง,
วัณณะโท ปะฏิภาณะโท,
ให้วรรณะ ให้ปฏิภาณ,
สุขัสสะ ทาตา เมธาวี,
ผู้มีปัญญา ให้ความสุข
สุขัง โส อะธิคัจฉะติ,
ย่อมได้ประสบสุข,
อายุง ทัตตะวา พะลัง,
วัณณัง สุขัญจะ ปะฏิภาณะโท
บุคคลผู้ให้อายุ พละ วรรณะ สุขะ แลปฏิภาณ,
ทีฆายุ ยะสะวา โหติ ยัตถะ ยัตถูปะปัชชะตีติ.
บังเกิดในที่ใดๆ, ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน,
มียศในที่นั้นๆ, ดังนี้.

*1234567

*1234567

บทความเกี่ยวกับบทสวดนี้

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

การบูชา พระรัตนตรัย

การบูชาพระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย เปรียบได้กับแก้ว ๓ ประการ คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ จัดเป็นที่พึ่งที่ระลึกอย่างสูงสุดของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ในการบูชาพระรัตนตรัยนั้น โดยปกติจะมีพระพุทธรูปเป็นประธาน ประดิษฐานไว้ในสถาน ที่สูง จะเป็นแท่นใหญ่หรือบนโต๊ะหมู่ก็ได้
พระพุทธองค์ทรงมีพระคุณอเนกประการ พอสรุปได้ ๓ อย่าง คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งนายช่างผู้เข้าใจประดิษฐ์ ได้สร้างพระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการนี้ แฝงไว้ที่องค์พระปฎิมากรทั้งหลาย 
เป็นต้นว่า
พระเศียรสูง หรือ ยอดพระเกศแหลม หมายถึงการมีปัญญาสูง หรือฉลาดหลักแหลม พระกรรณยาว แสดงถึงหูหนัก ฟังแล้วต้องไตร่ตรองให้เข้าใจเหตุผลก่อนเชื่อ จัดเป็นพระปัญญาคุณ
พระเนตรสำรวม ไม่มีการเหลียวซ้ายแลขวา หรือจ้องหน้าผู้ใดตรงๆ และพระหัตถ์สำรวม เช่น พระปางสมาธิหรือปางมารวิชัยที่นิยมสร้างกันเป็นส่วนมาก มีลักษณะของการสำรวมอินทรีย์ และ ศีล แสดงถึงพระบริสุทธิคุณ
พระพักตร์อิ่ม พระโอษฐ์แย้มยิ้ม มีลักษณะของคนใจดี มีเมตตาปรานี แล้วยังทำดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ของแท่นที่ประทับอีกด้วย ดอกบัวหมายถึงดวงใจ ที่เทิดทูนพระพุทธองค์ด้วยความ รักเคารพอย่างยิ่ง บ่งบอกพระกรุณาธิคุณ

เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งท่านโบราณาจารย์ได้จัดทำถวายขึ้นนั้น มี ๓ อย่าง คือ ธูป เทียน และ ดอกไม้ ล้วนมีความหมายที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง
เราจุดธูป เพื่อมุ่งบูชาพระพุทธคุณ ด้วยเหตุผลที่ว่า
ธูปให้ความหอม ซึ่งปัจจุบันนี้พระพุทธคุณก็ยังคงความหอมหวนอยู่เสมอ แม้พระพุทธ องค์เสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานนานมาแล้วก็ตาม
ธูป นิยมจุด ๓ ดอก บ่งถึงการบูชาพระพุทธคุณโดยย่อ ๓ ประการ ดังกล่าวแล้ว
เทียน จุดให้ความสว่าง มุ่งบูชาพระธรรมคุณ ด้วยเหตุผลที่ว่า ดวงประทีปส่องหน ทางให้คนเดินไปได้โดยสะดวกฉันใด ธรรมะก็เป็นเครื่องช่วยชี้ทางชีวิต ให้ก้าวหน้าไปอย่างสบาย ฉันนั้น
"หนทางสว่างด้วยแสงไฟ จิตใจสว่างด้วยแสงธรรม"
เทียน นิยมจุด ๒ เล่ม เพราะพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดามี ๒ ประเภท คือ พระวินัยหรือศีล เป็นประเภทคำสั่ง มีโทษแก่ผู้ละเมิด อีกอย่างคือ พระธรรม เป็นประเภทคำสอน ผู้ใดศึกษาบำเพ็ญตามได้เท่าใด ก็จักเจริญขึ้นไปตามส่วนของธรรมปฎิบัตินั้นๆ
ดอกไม้ให้ความงาม มุ่งบูชาพระสังฆคุณ ด้วยเหตุผลที่ว่า ดอกไม้ที่อยู่ในแจกันหรือ บนพานซึ่งจัดประดับดีแล้ว ย่อมงามกว่าส่วนที่อยู่บนต้นไม้ต่างๆ ซึ่งยังเกะกะไม่มีระเบียบฉันใด พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่ท่านปฎิบัติดีแล้วในพระธรรมวินัย ก็ย่อมดีงามกว่าปุถุชนคน นอกพระธรรมวินัยฉันนั้น
ลักษณะและความหมายของการแสดงความเคารพบูชา
ลักษณะการแสดงความเคารพ ของคนแต่ละชาติแต่ละเหล่า ย่อมมีความแตกต่างกัน อยู่บ้าง แต่มักมีความหมายทำนองเดียวกัน คือแสดงความปรารถนาดี ไมตรีจิต ปราศจากเจตนา ร้าย และการนอบน้อมถ่อมตัวของผู้แสดงความเคารพเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น
ทหาร ปกติเป็นผู้มีอาวุธและใช้อาวุธด้วยมือขวา การแสดงความเคารพใช้วันทยหัตถ์ ยก มือขวาขึ้นแตะขอบหมวก ให้เห็นว่าไร้อาวุธในมือ ถ้าใช้วันทยาวุธจะเปลี่ยนมาถือปืนยาวด้วยมือซ้าย ตั้งกระบอกปืนขึ้นฟ้า มือขวาทอดลงต่ำไปที่พานท้ายปืน มิใช่ที่ไกปืน เป็นลักษณะไม่ทำร้าย สำหรับนายทหารที่วันทยาวุธด้วยกระบี่ ก็จับกระบี่พุ่งปลายลงพื้น แสดงถึงการไม่ต่อสู่
การต้อนรับทักทาย ด้วยการยื่นมือขวาจับซึ่งกันและกัน ก็มีความหมายไม่มุ่งร้าย และให้ความร่วมมือด้วยดี
การโค้งคำนับ แสดงถึงการยกย่องและน้อมรับความสำคัญของผู้ที่ตนให้ความเคารพ
การยกมือไหว้ คือยกมือพนมขึ้นพร้อมกับน้อมศีรษะลงบรรจบ มือพนมมีความหมาย ถึงดวงใจ ศีรษะที่น้อมลงแสดงถึงความนอบน้อม ทั้งสองอย่างผสมกันก็เท่ากับให้ความนอบน้อม ทั้งกายและใจ
การกราบไหว้ ซึ่งต้องนั่งคุกเข่า แสดงถึงการเก็บเท้าและเข่าที่อาจใช้ทำร้ายกันได้ มือ ก็พนม ศีรษะก็ก้มน้อมลงต่ำสุดถึงพื้น จัดเป็นลักษณะการนอบน้อมที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจเป็น อย่างยิ่ง
นอกจากความหมายของอาการกิริยา "นอบน้อม" ดังกล่าวแล้ว ยังมีความหมายของ ถ้อยคำอีกด้วย ดังนี้
"นอบ" หมายถึง ยอม ถ่อมตัวลง
"น้อม" หมายถึง โน้มลงมา
ปกติเรามีการกราบไหว้พระรัตนตรัย ๓ ครั้ง
การกราบครั้งแรก เป็นการนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
นอบ คือยอมรับว่า พระพุทธเจ้าทรงมีคุณธรรมเลิศกว่าเรา โดยการศึกษาให้ทราบพระ พุทธคุณ อย่างน้อย ๓ ประการ เช่น พระกรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ
น้อม ให้พยายามโน้มคุณของพระพุทธองค์ลงมาปฎิบัติตาม เช่น แสดงความกรุณาด้วย การบำเพ็ญทาน แสวงความบริสุทธิ์ด้วยตั้งใจรักษาศีล เสริมปัญญาด้วยเจริญภาวนา
การกราบครั้งที่สอง เป็นการนอบน้อมต่อพระธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ดี แล้ว
นอบ คือยอมรับ พระธรรมเป็นขุมความรู้เรื่องขีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งกว่าความรู้ของเรา เช่น เรื่องของทุกข์และการดับทุกข์ จนถึงเรื่องของมรรค ผล นิพพาน
น้อม ให้พยายามโน้มคุณของพระธรรมลงมาปฎิบัติตาม มีการละชั่ว ทำความดี และหมั่น ชำระจิตให้ผ่องแผ้วอยู่เสมอ
การกราบครั้งที่สาม เป็นการนอบน้อมต่อพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งปฎิบัติ ดีแล้ว
นอบ คือยอมรับว่า พระสงฆ์เป็นผู้ที่ทรงศีลาจารวัตรงดงามยิ่งกว่าเรา โดยเห็นว่า ท่าน เป็นผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติตรง ปฎิบัติสมควร และปฎิบัติชอบ
น้อม ให้พยายามโน้มคุณของพระสงฆ์ลงมาปฎิบัติตาม ด้วยการหมั่นทำความดี ปฎิบัติ ตามพระธรรมวินัย ไม่มีอคติต่อผู้ใด และ บำเพ็ญตามอริยมรรคเรื่อยไป
ในการกราบไหว้ เรามักกล่าวคำ หรือ ระลึกว่า

"อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา, พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ." 
(พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ไกลจาก กิเลส ตรัสรู้เองชอบ, ข้าพเจ้าอภิวาทกราบไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น)
"สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ นมสฺสามิ." 
(พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการกราบไหว้พระธรรมนั้น)
"สุปฎิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ นมามิ." 
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคที่ท่าน ปฎิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมกราบไหว้พระสงฆ์นั้น)

แต่ตอนเงยขึ้น ไม่ค่อยมีผู้กล่าวหรือระลึกอะไรเลย จึงขอเสนอแนะคำกล่าวอธิษฐานหรือ ระลึก เพื่อเพิ่มพลังชีวิต แต่ละครั้งดังนี้
ขณะเงยศีรษะขึ้นจากการกราบพระพุทธ ใช้คำว่า 
"พุทฺธปูชา มหาเตชวนฺโต" 
(ด้วยการ บูชาพระพุทธเจ้า ขอจงเป็นเหตุนำมาซึ่งเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่)
ขณะเงยศีรษะขึ้นจากการกราบพระธรรม ใช้คำว่า 
"ธมฺมปูชา มหปฺปญฺโญ" 
(ด้วยการ บูชาพระธรรม ขอจงเป็นเหตุนำมาซึ่งสติปัญญาอันยิ่งใหญ่)
ขณะเงยศีรษะขึ้นจากการกราบพระสงฆ์ ใช้คำว่า 
"สงฺฆปูชา มหาโภคาวโห" 
(ด้วยการ บูชาพระสงฆ์ ขอจงเป็นเหตุนำมาซึ่งโภคทรัพย์สมบัติอันยิ่งใหญ่)

อานิสงส์ตามธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นได้ เช่น
รวงข้าวคราวดกน้อม รวงลง
รวงลีบชูรวงตรง สู่ฟ้า
เฉกปราชญ์ฉลาดยง ย่อมถ่อม ตนนา
คนโง่ชอบโอ่อ้า อวดอ้างฤทธี ฯ
"อ่อนน้อมเป็นยอดไม้ ใหญ่กระด้างเป็นแค่โคนต้น"
"น้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำ คุณงามความดีทั้งน้ำใจไมตรี ย่อมไหลลงสู่ผู้อ่อนน้อมถ่อมตัว"
ทั้งยังมีอานิสงส์ตามพระพุทธภาษิต ที่แสดงไว้ว่า "ธรรม ๔ ประการ มี อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีปกติกราบไหว้ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์"
นอกจากนี้ ในตำนานทางพระพุทธศาสนา กล่าวถึงผู้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าจำนวนไม่น้อย ที่ นิยมเดินประทักษิณ ๓ รอบ ต่อพระพุทธเจ้า ทั้งตอนไปเฝ้าและตอนลากลับ เป็นการแสดงความ เคารพ อีกวิธีหนึ่ง
โบราณาจารย์ของเราจึงได้นำวิธีการนี้ มาใช้บ้าง ในโอกาสสำคัญๆ อย่างในการแห่นาคเข้า โบสถ์เพื่อบรรพชาอุปสมบท และเดินเวียนรอบพระสถูป พระเจดีย์ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น
ส่วนธูป เทียน ดอกไม้ จัดเป็นเครื่องสักการะต่อสิ่งที่เคารพบูชา มีพระรัตนตรัย เป็นต้น เราก็ถือมาเป็นเครื่องบูชาในโอกาสนี้ด้วย สำหรับเทียนที่จุดแล้วให้แสงสว่างมากกว่าธูป เป็นจุดเด่น ยิ่งกว่าดอกไม้ จึงนิยมเรียกสั้นๆ ว่า "เวียนเทียน"
สำหรับเหตุผลเรื่อง ประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา หรือการเวียนขวานั้น ก็เป็นไปตาม ธรรมชาติ ที่ตามปกติคนทั่วไปจะถนัดในการใช้มือหรือเท้าข้างขวามากกว่าข้างซ้าย แสดงถึงพลัง ด้านขวามีมากกว่าด้านซ้าย การทำอะไรไปทางด้านขวา จึงหมายถึงการมุ่งทางอำนาจฝ่ายสูง ความ เข้มแข็ง ดีงาม ยิ่งกว่าทางด้านซ้าย อันจัดเป็นอำนาจฝ่ายต่ำ อ่อนแอ เลวทรามกว่า
นาฬิกาที่คนประดิษฐ์ขึ้นทุกเรือนในโลก ก็สร้างให้เข็มชี้หมุนวนไปทางขวา จุกเกลียว ฝา เกลียวที่ใช้ปิดขวด ปิดกระป๋องต่างๆ และจำพวกน๊อต สกรู ตะปูควง ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ ถ้าจะ ปิด จะไขเข้าให้แน่น จะต้องหมุนเวียนไปทางขวา ถ้าจะให้คลายออก ก็หมุนเวียนไปทางซ้ายเป็น ส่วนใหญ่
ดังนั้น การเวียนเทียนรอบพระสถูป พระเจดีย์ พระปฎิมากร ด้วยความเคารพ จึงนิยม เวียนขวา เรียกว่าทักขิณาวัฎ เพื่อเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันเป็น การตรงข้ามกับการเวียนศพ รอบเมรุ รอบเชิงตะกอน ก่อนนำขึ้นเผา นิยมเวียนซ้าย เรียกว่า อุตราวัฎ เป็นการแสดงถึงการวาย หรือ คลายออกของชีวิต
การเคารพ นอบน้อม จัดเป็นบุญข้อหนึ่งชื่อ "อปจายนมัย" เป็นบทเริ่มต้นของพุทธ ศาสนิกชน ในพิธีทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำวัตรสวดมนต์ธรรมดาของส่วนตัว หรือ ส่วนรวม และในการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลน้อยใหญ่.

อ้างอิงจาก http://www.phraajarn.com/?cid=295784

วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2557

พระคาถาชินบัญชร

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
พระคาถาชินบัญชร

พระวาจาตรัสเรื่องคาถาชินบัญชร
โดย สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ตุลาคม ๒๕๑๘
คาถาชินบัญชร เป็นที่นับถือสวดกันอย่างแพร่หลาย กล่าวกันว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยได้นำมาขอให้แปล เพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครั้งหนึ่ง เมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างได้ ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นเองหรือได้ต้นฉบับมาจากไหน
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาให้เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็ก พิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of The Dhamma (กระจกธรรม)โดยท่านนารทมหาเถระ และท่านกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ (ของศรีลังกา ตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๓ ของไทย) ค.ศ.๑๙๖๑ เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่จะใช่สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มแต่ นโมพุทฺธ ศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่าง ๆ บทสวดมี พาหุง ชินบัญชร มงคลสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหฬและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อได้อ่านชินบัญชรในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึงจับความได้ หายความข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดจะปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตรฉบับลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย
ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้ว ก็รู้สึกว่าต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับลังกานั้นมี ๒๒ บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี ๑๔ บท ก็คือ ๑๔ บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ ๑๔ ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก คาถาบทที่ ๙ ของฉบับไทย บรรทัดที่ ๒ น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้ ส่วนคาถาบทที่ ๑๒ และ ๑๓ สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี
ในการพิมพ์ครั้งนี้ เรียงชินบัญชรฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ปรับปรุงขึ้นใหม่ อนุวัตรแบบลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควร และมีคำแปลเป็นภาษาไทย ที่แปลขึ้นใหม่ในคราวนี้เช่นเดียวกัน ในการแปลครั้งนี้ ไม่ได้เทียบกับคำแปลเก่าที่เคยแปลไว้เพราะไม่พบฉบับที่แปลไว้ บทสวด พาหุง และชินบัญชร เป็นที่นิยมสวดกันในเมืองไทยมาช้านาน แต่บทสวดพาหุง มีถ้อยคำที่ยุติแน่นอน ส่วนบทสวดชินบัญชร แต่ละฉบับ แต่ละสำนัก ยังผิดแผกกันอยู่ ถ้าอาจทำให้ยุติเป็นแบบเดียวกันได้ ก็จะเป็นการดี

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา


อิติปิโสภะคะวา ยะมะ ราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรส คืออริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.

มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.

พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

ทักขิเณสะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.

มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ.

พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฎเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัยแต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตร อยู่เบื้องหลัง

ขันทะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

ชินาณา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.

อนึ่งพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตะชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้นจงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.  

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญ ฯ

http://www.luangputo.com/Menu02/Mainmenu.htm


*1234567

*1234567

ชัยปริตร (มหากรุณิโก หรือเรียกย่อๆว่า มหากาฯ)

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
ชัยปริตร (มหาการุณิโก หรือ เรียกย่อๆว่า มหากาฯ)

หมายเหตุ
ชัยปริตร คือ ปริตรที่กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า แล้วอ้างสัจจวาจานั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี อานิสงส์ในการขจัดสิ่งอัปมงคล ช่วยเกื้อหนุนให้การงาน การศึกษาเล่าเรียนก้าวหน้า (เป็นบทที่ใช้ในการทำน้ำมนต์)
หน้า 75 หนังสือ "สวดชาตินี้ ดีกว่ารอชาติหน้า"
..."พระปริตร" หมายถึง "เครื่องคุ้มครอง" ... http://www.suadmonnetwork.com/2013/09/blog-post.html
...ประโยชน์ของการสวดพระปริตร ถ้าได้ทำเป็นประจำจะเกิดอานุภาพปรากฎให้เห็นกับผู้ที่ปฏิบัติ  ผลที่ได้รับ จากการสวดพระปริตรที่เกิดจากอานุภาพ ของพระรัตนตรัยและเมตตา จะทำให้ผู้ที่หมั่นสาธยายพระปริตรประสบความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรือง ได้รับชัยชนะ แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย มีสุขภาพดี มีอายุยืน เพราะพระปริตรได้กล่าวถึง คุณของพระรัตนตรัย  (อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์) และกล่าวถึงการเจริญเมตตาภาวนา ...
http://www.gotoknow.org/posts/254308

ชัยปริตร (มหาการุณิโก นาโถ)

มะหาการุณิโก นาโถ                           
พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริงของสัตว์

หิตายะ  สัพพะปาณินัง                        
ทรงประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
ปูเรตฺวา  ปาระมี  สัพพา                       
ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม
ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง                        
ทรงตรัสรู้อันอุดม ทรงถึงความเป็นผู้เลิศแล้ว
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                         
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ                        
ขอชัยชนะอันเป็นมงคล จงมีแก่ท่าน ฯ

ชะยันโต  โพธิยา  มูเล                         
พระพุทธเจ้าศากยะวงศ์ผู้จำเริญ ทรงผจญมาร
สักฺยานัง  นันทิวัฑฒะโน                       
ณ โคนโพธิ์พฤกษ์ทรงบันเทิงยินดีด้วยชัยชนะ ฉันใด
เอวัง ตะวัง วิชะโย  โหหิ                        
ขอให้ท่านจงเป็นผู้มีชัยชนะอันเป็นมงคล ฉันนั้น
ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล                           
ดั่งพระองค์ประสบความชัยชนะแห่งมาร
อะปะราชิตะปัลลังเก                             
ณ ที่อปราชิตบัลลังก์, (บัลลังก์แห่งผู้ไม่อัปราชัย)
สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร                            
ทรงประทับเหนือใบบัว เป็นจอมปฐพี
อภิเสเก  สัพพะพุทธานัง                        
ถึงความอภิเษกเป็นอย่างแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ.                       
ได้ถึงความเป็นผู้เลิศแล้ว.
สุนักขัตตัง  สุมังคะลัง                          
 สัตว์ทั้งหลาย เมื่อประพฤติสุจริตดี แม้ในเวลาใด
 เวลานั้นแล ชื่อว่า เป็นฤกษ์ดี  เป็นมงคลอันดี
สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง,                             
เวลายามรุ่งก็ดี  เวลาสว่างแจ้งแล้วก็ดี
สุขะโณ  สุมุหุตโต จะ                           
 แม้ครู่เดียวก็ดี  และขณะเดียวก็ดี  อันเป็นการ
สุยิฏฐัง  พรหมะจาริสุ,                                     
ปฏิบัติบูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย
ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง                          
กระทำกายกรรม อันเป็นกุศล
วาจากัมมัง ปะทักขิณัง,
กระทำวจีกรรม อันเป็นกุศล
ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง                         
กระทำมโนกรรม อันเป็นกุศล
ปะณิธิ  เต  ปะทักขิณา,                           
ความปรารถนาของท่านอันเป็นกุศล
(ประทักษิณ--วนเบื้องขวา เป็นการแสดงความเคารพในสมัยนั้น)
ปะทักขิณานิ  กัตฺวานะ                            
สัตว์ทั้งหลาย เมื่อกระทำกุศลกรรม ทำเหตุไว้ดีแล้ว
ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณ ฯ                        
ย่อมได้ประโยชน์ทั้งมวลเป็นผล ประสบโชคดี แล.

ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                           
ขอสรรพมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวะตา                            
ขอเหล่าเทวดาทั้งปวง จงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ                             
ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ  เต                          
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                           
ขอสรรพมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ  สัพพะเทวะตา                           
ขอเหล่าเทวดาทั้งปวง จงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ                             
ด้วยอานุภาพ แห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ  เต                          
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                           
ขอสรรพมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ  สัพพะเทวะตา                           
ขอเหล่าเทวาทั้งปวง จงรักษาท่าน
สัพพะสังฆานุ  ภาเวนะ                           
ด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ  เต                         
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

http://watpradhammajak.blogspot.com/2012/08/blog-post_5498.html

*1234567

*1234567

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)

ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล
ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือ พาหุงมหากาฯ เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้าค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปราถนาทุกประการ

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ,

พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน
ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างครีเมขละ
มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง
ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อนึ่งพระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ "อาฬวกะ"
ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน มีฤทธิ์พิลึก
น่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งนักจนตลอดคืนจนรุ่งเช้า
ด้วยวิธีทรมานอันดี คือ พระขันติ ความอดทน
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อ "นาฬาคิรี"
ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจไฟป่า
และจักราวุธแลสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

พระจอมมุนี ทรงมีพระหฤทัยจะกระทำอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
ได้ชนะโจรชื่อ "องคุลิมาล" ผู้แสนจะร้ายกาจมีพวงดอกไม้
คือนิ้วมนุษย์ มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้น ระยะทาง ๓ โยชน์
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

พระจอมมุนี ได้ชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา
ซึ่งทำอาการเหมือนประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำท่อนไม้สัณฐานกลม
ผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ
ความระงับพระหฤทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉยในท่ามกลางหมู่ชน
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

พระจอมมุนี ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างประทีป คือ พระปัญญา 
ได้ชนะสัจจกะนิครนถ์ ผู้มีอัชฌาสัยในอันจะละทิ้งเสียซึ่งความสัตย์
มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงดุจยกธง
และเป็นผู้มีใจมืดมนยิ่งนัก
ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนา
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ  

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราช ชื่อ "นันโทปนันทะ"
ผู้มีความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยการโปรดให้
พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส เนรมิตกายเป็นนาคราช
ไปทรมานพญานาค นันโทปนันทะพญานาค
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

พระจอมมุนีได้ชนะพระพรหมผู้มีนามว่า "ท้าวผกาพรหม"
ผู้มีฤทธิ์ มีอันสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น คือมีทิฐิที่ตนเห็นผิดแล้ว
ด้วยวิธีวางยา คือ ทรงแสดงเทศนาญาณ
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแแก่ข้าพเจ้า

ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ  

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้านสวดก็ดี
ระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน
นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ ซึ่งความจัญไรอุปัทวอันตรายทั้งหลาย
มีประการต่าง ๆ เป็นอเนกถึงซึ่งวิโมกศิวาลัย และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแล

*12345678

*12345678

คำบูชาพระรัตนตรัย

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
คำบูชาพระรัตนตรัย
DEDICATION OF OFFERINGS 
(ผู้ชายนั่งคุกเข่า, ผู้หญิงนั่งคุกเข่าราบ)


โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
To the Blessed One, the Lord who fully attained perfect enlightenment,
สะวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว,
To the Teaching which be expounded so well,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,
And to the Blessed One’s disciples, who have practised well
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้,
อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร,
To these- the Buddha, the Dbamma and the Sangha
We render with offerings our rightful bomage.
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ปรินิพพานนานแล้ว,
ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
It is well for us that the Blessed One having attained liberation,
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า, อันเป็นชนรุ่นหลัง,
Still had compassion for later generations.
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า, จงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้,
May these simple offerings be accepted
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย,
ตลอดกาลนาน เทอญ.
For our long-lasting benefit and for the happiness it gives us.


*1234567*
*1234567*

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

อนุโมทนาคาถา (อนุโมทนารัมภคาถา)

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
อนุโมทนาคาถา (อนุโมทนารัมภคาถา)

(หมายเหต) อนุโมทนากถา เป็นบทสวดมนต์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่สวดเพื่อมุ่งประสงค์ให้ผู้ถวายทานแก่พระสงฆ์เกิดความยินดีในทาน หรือเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้ถวาย ในสมัยพุทธกาล พระสูตรสำคัญ ๆ เกิดจากคำอนุโมทนากถาของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ผู้ถวายทานตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จไปรับบิณฑบาต[1] ปัจจุบันพระสงฆ์มีบทสวดสำหรับอนุโมทนาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะตัดตอนมาจากพระสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบทที่พระสงฆ์ใช้สวดเป็นประจำไม่กี่พระสูตร แต่บทที่พระสงฆ์สวดนำเป็นปกติทุกครั้งก่อนที่จะสวดเนื้อหาในพระสูตรคือ บทอนุโมทนารัมภกถา และบทสามัญญานุโมทนากถา (แปลว่าบทสวดเริ่มต้นและบทสวดปกติ) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ยถา-สัพพี ซึ่งเป็นบทสวดที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ โดยบทยถาเป็นการให้พรอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บทสัพพีมีเนื้อหากล่าวถึงการอำนวยมงคลและอวยพรให้ผู้ถวายทานปราศจากอันตรายทั้งหลาย

(จาก วิกิพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2)


ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง,
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด,

เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ,
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในวันนี้,
ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น,

อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง,
ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว,

ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ,
จงสำเร็จโดยฉับพลัน,

สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา,
ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่,

จันโท ปัณณะระโส ยะถา,
เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ,

มะณิ โชติระโส ยะถา.
เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี.

*1234567

*1234567


*1234567

*1234567

สามัญญานุโมทนาคาถา

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
สามัญญานุโมทนาคาถา

สัพพีติโย วิวัชชันตุ,
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป,

สัพพะโรโค วินัสสะตุ,
โรคทั้งปวงของท่านจงหาย,

มา เต ภะวัตวันตะราโย,
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน,

สุขี ฑีฆายุโก ภะวะ,
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน,

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน,
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันต, อายุ วัณโณ สุขัง, พะลัง.
ธรรมสี่ประการ คืออายุ วรรณะ สุขะ พละ,
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปรกติกราบไหว้,
มีปรกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ.

*1234567

*1234567

มงคลสูตร (มังคลสุตตัง)

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
มงคลสูตร (มังคลสุตตัง)
(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะนามะ เส.)

(หมายเหตุ 1)
...บทเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร บทสวดมนต์ มังคะละสุตตัง หรือ มงคลสูตร พระสูตรที่กล่าวถึงสิ่งที่ทำให้เกิดมงคลแก่ชีวิต ๓๘ ประการ นิยมสวดเพื่อให้เกิดสิริมงคลในชีวิต ใจความโดยย่อของบทสวดมนต์ มังคะละสุตตัง หรือมงคลสูตร กล่าวถึงข้อสงสัยของเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลายที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลาอันยาวนานถึงสิ่งที่เป็นมงคลอันสูงสุดของชีวิต  จากปัญหาดังกล่าวท้าวสักกะเทวราชจึงแนะนำให้เทวดาเหล่านั้นนำปัญหาข้อสงสัยไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงตรัสแสดงถึงสิ่งอันเป็นมงคลอันสูงสุดในพระพุทธศาสนาไว้ ๓๘ ประการ ...
จาก http://www.suadmonnetwork.com/2011/07/blog-post_2613.html
...
(หมายเหตุ 2)
บทสวดมงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ในเล่มที่ ๒๕ มีสองพระสูตร เนื้อความเหมือน ๆ กัน
มงคลสูตรที่ ๕ ในขุททกปาฐะ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๕-๖
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

มงคลสูตรที่ ๔ ในสุตตนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๓๑๗-๓๑๘
                         การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควร
                         บูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
                         ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้
                         ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่
                         ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุง
                         มารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่
                         อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑
                         การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                         การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
                         ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                         ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑
                         ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑  นี้เป็นอุดมมงคล
                         ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะ
                         ทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                         ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การ
                         กระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอัน
                         โลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้า-
                         โศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดา
                         และมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยใน
                         ข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็น
                         อุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ ...
จาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0c48f0a1a1f2ad3b

เอวัมเม  สุตัง,
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้,

เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา,
สมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า,

สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน,
เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของ

อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม,
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี,

อะถะโข  อัญญะตะรา  เทวะตา,
ครั้งนั้นแล เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง,

อะภิกกันตายะ  รัตติยา,
ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว,

อะภิกกันตะวัณณา,
มีรัศมีอันงามยิ่งนัก,

เกวะละกัปปัง  เชตะวะนัง,
ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง,

โอภาเสตะวา,
เยนะ  ภะคะวา  เตนุปะสังกะมิ,
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น,

อุปสังกะมิตวา  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทตวา,
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว,

เอกะมันตัง  อัฏฐาสิ,
ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง,

เอกะมันตัง  ฐิตา  โข  สา  เทวะตา,
ครั้นเทพยดานั้น ยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล,

ภะคะวันตัง  คาถายะ  อัชฌะภาสิ,
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า,

พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง,
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ  มังคะละมุตตะมัง,
เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
หมู่เทวดาและมนุษย์มากหลาย,
มุงหมายความเจริญก้าวหน้า, ได้คิดถึงเรื่องมงคลแล้ว,
ขอพระองค์ทรงบอกทางมงคลอันสูงสุดเถิด,
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า, ทรงตรัสตอบดังนี้ว่า,

อะเสวะนา  จะ  พาลานัง,
การไม่คบคนพาล,

ปัณฑิตานัญ จะ  เสวะนา,
การคบบัณฑิต,

ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง,
การบูชาต่อบุคคลที่ควรบูชา,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสามอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
              
ปะฏิรูปะเทสะวาโส  จะ,
การอยู่ในประเทศอันสมควร,

ปุพเพ  จะ  กะตะปุญญะตา,
การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อนแล้ว,

อัตตะ สัมมา ปะณิธิ จะ,
การตั้งตนไว้ชอบ,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสามอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
                           
พาหุสัจจัญจะ,
การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,

สิปปัญจะ,
การมีศิลปวิทยา,

วินะโย จะ สุสิกขิโต,
วินัยที่ศึกษาดีแล้ว,                      

สุภาสิตา จะ ยา วาจา,
วาจาที่เป็นสุภาษิต,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,


มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,
การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา,

ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห,
การสงเคราะห์บุตรและภรรยา,

อะนากุลา จะ กัมมันตา,
การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสามอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ทานัญจะ,
การบำเพ็ญทาน,

ธัมมะจะริยา จะ,
การประพฤติธรรม,

ญาตะกานัญจะ สังคะโห,
การสงเคราะห์หมู่ญาติ,

อะนะวัชชานิ  กัมมานิ,
การงานอันปราศจากโทษ,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,


อาระตี วิระตี ปาปา,
การงดเว้นจากบาปกรรม,

มัชชะปานา จะ สัญญะโม,
การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้จากการดื่มน้ำเมา,

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ,
การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสามอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

คาระโว จะ,
ความเคารพอ่อนน้อม,

นิวาโต จะ,
ความถ่อมตัวไม่เย่อหยิ่ง, 

สันตุฏฐี จะ,
ความสันโดษยินดีในของที่มีอยู่,

กะตัญญุตา,
ความเป็นคนกตัญญู,


กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง,
การฟังธรรมตามกาล,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจห้าอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,


ขันตี จะ,
ความอดทน,

โสวะจัสสะตา,
ความเป็นคนว่าง่ายสอนง่าย,

สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง,
การพบเห็นสมณะผู้สงบจากกิเลส,

กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา,
การสนทนาธรรมตามกาล,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ตะโป จะ,
ความเพียรเผากิเลส,

พรัหมะจะริยัญจะ,
การประพฤติพรหมจรรย์,
                                   
อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง,
การเห็นอริยสัจ,
                          
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ,
การทำพระนิพพานให้แจ้ง,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ,
จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย, ถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว,

อะโสกัง,
เป็นจิตไม่เศร้าโศก,

วิระชัง,
เป็นจิตไร้ธุลีกิเลส,

เขมัง,
เป็นจิตอันเกษมศานต์,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

เอตาทิสานิ กัตตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา,
สัพพัตถะ  โสตถิง  คัจฉันติ, ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมัง,
หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
ได้กระทำมงคลทั้งสามสิบแปดประการเหล่านี้ให้มีในตนแล้ว,
จึงเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง,
ย่อมถึงความสวัสดีในทุกสถาน, ทั้งหมดนี้เป็นมงคล,
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้,

อิติ.
ด้วยประการฉะนี้แล.

...........................................................
http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
คัดลอกจาก......หนังสือธรรมานุสรณ์
วัดถ้ำแฝด  ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
คำแปลบางตอน ใช้จากหนังสือ "บทสวดมนต์" (ใช้สวดมนต์ทำวัตรที่วัดสันป่าสักวรอุไร)

*1234567

*1234567