วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Solar Bottle“หลอดไฟ (ขวดน้ำพลาสติก)พลังแสงอาทิตย์”ไอเดียเพื่อชุมชน

Solar Bottle“หลอดไฟ (ขวดน้ำพลาสติก)พลังแสงอาทิตย์”ไอเดียเพื่อชุมชน


*123456

*123456

*123456

*123456

เรียบเรียงจาก
http://www.vcharkarn.com/varticle/57055

Solar Bottle หลอดไฟขวดพลาสติก” ที่เขาเล่าถึงที่มาที่ว่า “เริ่มจากวิธีง่ายๆนั่นคือ การบรรจุน้ำผสมคลอรีนลงไปในขวดพลาสติกเพื่อไม่ให้ได้รับแสงสว่างเต็มที่ เป็นการป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำจากนั้นก็ปิดฝาและทากาวด้านบนเพื่อเจาะติด กับหลังคาสังกะสีหรือกระเบื้องและใช้หลักการสะท้อนของแสงแดด ทำให้ความสว่างส่องสะท้อนลงมาสู่ใต้หลังคาได้”
              จุด เด่นของหลอดไฟชนิดนี้ อันดับแรกคือค่าใช้จ่ายเพียง 55 บาทต่อจุด อันดับสองคือ ช่วยประหยัดพลังงานและเงินค่าไฟได้มาก เพราะในช่วงเวลากลางวันจะได้แสงสว่างจาก Solar Bottle ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟฟ้าเลย และอันดับสามคือเป็นการรีไซเคิลขวดพลาสติกให้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าได้อีก ครั้ง

              “ผม คิดว่าแสงแดดในเมืองไทยกับฟิลิปปินส์มีโคลงสร้างที่คล้ายกันผมจึงเริ่มทำ Solar Bottle หลอไฟขวดพลาสติกให้กับชุมชนต่างๆ เช่น ชุมชนทางรถไฟยมราช ชุมชนบ้านกล้วย คลองเตย โดยร่วมมือกับเครือข่ายสถาปนิกชุมชน เข้าไปสอนวิธีทำและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชาวบ้านนอกจากนั้นยังกระจายไอ เดียนี้ไปสู่ “โรงเรียน” ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนและมีการบอกต่อกันไปทำให้มีชาวบ้านเข้ามาเรียนรู้ มากขึ้น นำไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่ผมอยากเผยแพร่แนวคิดนี้นั่นคือ ชุมชนที่อยู่ในกรุงเทพหรือ เมืองใหญ่ๆ ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน หรือคนที่มีบ้านชั้นเดียว เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆ”

อุปกรณ์ :
              หลังคา สังกะสีหรือหลังคากระเบื้องแบบเดียวกับหลังคาบ้าน/ ขวดน้ำพลาสติก/ คลอรีนชนิดน้ำ/  น้ำกรอง/ กรรไกรตัดสังกะสี เครื่องเจีย (ลูกหมู) พร้อมใบตัดกระเบื้องและตัวเจาะรูนำ/ สิ่ว ค้อนและตะปูขนาดตั้งแต่ 1-4 นิ้ว / สกรูและสว่าน / ซิลิโคน / กระดาษแข็งและกระดาษทรายแบบหยาบ/ เทปกาวและเทปพันสายไฟ/ ถังสีเปล่า/ ดินสอและปากกา Marker/ ถุงมือและผ้าเช็ดมือ

Untitled-1
 

พัทธยา เทศทอง

เรียบเรียงจาก
http://www.siamsport.co.th/history_human.asp?idh=514

พัทธยา เทศทอง นักกีฬาคนพิการ พาราลิมปิกเกมส์ 2012 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
คว้า 2 เหรียญทองจากกีฬาบอคเซีย
*123456

*123456
          ''แดง'' เด็กหนุ่มจาก จ.อำนาจเจริญ เขาเกิดในครอบครัวฐานะปานกลาง ไม่ได้รวยล้นแต่ก็ไม่จนติดดิน ชีวิตเขาน่าจะเป็นเหมือนเด็กหนุ่มทั่วไปที่เติบโตไปตามวัยและสนุกไปตามประสา แต่ทว่าเหมือนฟ้าแกล้งเพราะเขากลับเกิดมาไม่สมบูรณ์เหมือนคนอื่นๆ และมีความพิการทางสมอง และร่างกายผิดปกติ ชีวิตในวัยเด็กของเขาจึงไม่ต้องคาดเดา แต่เต็มไปด้วยความมืดหม่น และอับเฉา
           พัทธยา ไม่มีเพื่อน ถึงมีก็โดนล้อโดนแกล้งจนไม่อยากออกจากบ้าน โลกของเขายังมีเพียงห้อง 4 เหลี่ยมแคบๆ เป็นทั้งท้องฟ้า สายน้ำ ทิวเขา และท้องทะเล พัทธยาแทบไม่อยากไปไหน เพราะร่างกายที่ผิดรูปทำให้กลายเป็นปมด้อยจนครั้งหนึ่งเขาเคยคิดฆ่าตัวตาย เรื่องแบบนี้ไม่เกิดกับใครไม่รู้ แต่ที่สุดเขาก็เข้มแข็ง สามารถเติบโตอยู่ในโลกใบนี้ได้
          จุดพลิกผันสำคัญคือ พัทธยาได้เข้าเรียนในโรงเรียนพิเศษที่สอนเฉพาะผู้พิการ เขาเข้าเรียนที่ โรงเรียนศรีสังวาล จ.ขอนแก่น ที่แห่งนี้เขาได้พบกับเพื่อนที่สามารพูดคุยปรับทุกข์กันได้ เป็นเพื่อนที่สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าคือ ''เพื่อน'' ขนานแท้ เพราะทุกคนอยู่ในโลกใบเดียวกัน โลกที่เข้าใจกันและกัน ซึ่งที่นี่เข้าเริ่มรู้จักกับกีฬาบอคเซีย
          กีฬาที่ช่วยเติมเต็มให้เขา และกลายเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตชิ้นสำคัญ
          ปวง พล พันธ์พวงพิลา พี่เขยแท้ๆ ที่ตามมาดูแล ''แดง'' ที่ข้างสนามลอนดอนเกมส์ เล่าให้ฟังว่า บอคเซียคือกีฬาที่พัทธยา ตั้งใจว่าจะใช้เป็นใบเบิกทางเพื่อท่องโลกกว้างแทนที่จะอยู่ในห้องแคบๆ โลกแคบๆ แห่งนี้ จึงมุ่งมั่นและใฝ่ฝันว่าจะติดทีมชาติเพื่อได้ออกไปแข่งขันตามที่ต่างๆ และได้เดินทางไปต่างประเทศด้วย
         ความคิดของพัทธยายิ่ง ใหญ่เกินตัว ใหญ่เกินกว่าที่คนที่มีร่างกายแบบเขาจะกล้าคิด แต่ใครจะคิดว่านอกจากกล้าคิด เด็กหนุ่มจากอำนาจเจริญคนนี้จะสามารถทำให้เป็นจริง และพุ่งไกลเกินกว่าที่ฝันไว้ได้
          บอคเซียทำให้พัทธยา ได้ตระเวนแข่งขันไปทั่ว เขาไม่ได้หยุดอยู่แค่บ้านที่ อำนาจเจริญ หรือโรงเรียนศรีสังวาล จ.ขอนแก่น แต่ท่องเที่ยวไปไกลแทบทั่วประเทศ กับการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ รวมทั้งรายการชิงแชมป์ต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้น ยังออกไปไกลถึงต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันชิงแชมป์โลกที่โปรตุเกส, เฟสปิกเกมส์ ที่เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศทั้งแคนาดา, จีน, มาเลเซีย และฮ่องกง รวมทั้งประเทศอังกฤษ เมืองที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศรู้จักเขา
          หลังจากได้ เดินทางไปแข่งขันกีฬาบอคเซียตามสถานที่ต่างๆ ความฝันใหม่ของพัทธยาก็เริ่มขึ้น เขาอยากสัมผัสกับเหรียญทองพาราลิมปิกเกมส์ กีฬาคนพิการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่จัดคู่ขนานกับโอลิมปิกเกมส์ ความฝันนั้นจุดประกายให้พัทธยาซ้อมอย่างเต็มที่ และมุ่งมั่นเต็มกำลัง
          ความ ทุ่มเทของเขาเกินคำบรรยาย เพราะต้องเดินทางจากอำนาจเจริญไปที่กรุงเทพฯ ทั้งแข่งขันทั้งฝึกซ้อม ไป-กลับนับร้อยๆ เที่ยว เพื่อต้องการติดทีมชาติ และในที่สุดความฝันของเขาก็เริ่มฉายแวว เพราะเขาติดทีมชาติไปแข่งขันพาราลิมปิก ที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อ 4 ปีก่อน พัทธยาหมายมั่นจะคว้าเหรียญทอง แต่เขาทำดีที่สุดแค่เหรียญทองแดง แต่นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตของพัทธยาเปลี่ยนไป เพราะเงินอัดฉีดจำนวนหนึ่งกลายเป็นทุนชีวิตให้ พัทธยาสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง และเป็นทุนที่จะช่วยสานต่อความฝันให้เป็นจริง นั่นคือเหรียญทองพาราลิมปิกเกมส์
          พัทธยาฝันที่จะกลับ มาสู่พาราลิมปิกเกมส์อีกครั้งเพื่อไล่ล่าเหรียญทอง แต่การเดินทางสู่ฝันไม่ใช่ง่ายเลย ช่วงแรกเขาต้องพบกับปัญหาเดิมๆ คือการเดินทางระหว่าง จ.อำนาจเจริญ บ้านเกิดกับกรุงเทพฯ ทำให้เขาทั้งเสียเวลา และลำบากไม่น้อยกับการเดินทางไกลแบบนี้ และที่สำคัญผลงานก็ไม่ดีขึ้น แม้แต่ตำแหน่งในทีมชาติยังไม่มี ในที่สุด
          พัทธยา ตัดสินใจจากบ้านเกิดเข้ามาอยู่หอพักที่กรุงเทพฯ เพียงคนเดียว เพื่อตัดปัญหาการเดินทาง แต่การต้องอยู่ตัวคนเดียวไม่ง่ายเลยสำหรับคนที่มีร่างกายแบบเขา
         พัทธยา ต้องช่วยเหลือตัวเองทุกอย่าง รวมทั้งเรื่องอาหารการกิน เขาบอกว่าต้องทำอาหารกินเอง เดินทางเอง และช่วยเหลือตัวเองทุกอย่าง เพื่อให้ได้ฝึกซ้อม และได้แข่งขัน
           ''ต้องทำอาหาร กินเองเมนูประจำก็เป็นพวกไข่เจียว บางทีก็มีต้มยำ และต้องช่วยเหลือตัวเองทุกอย่าง ก็ค่อนข้างลำบาก เพราะไม่มีใครช่วย แต่ก็ดีที่หอพักใกล้กับสนามซ้อม ห่างแค่ 7-800 เมตรเท่านั้น นั่งรถเข็นตัวเก่งเดินทางไปสนามซ้อมทุกวัน'' พัทธยา เล่าให้ฟัง
           อย่าง ไรก็ตามความลำบากที่พัทธยาสู้ทนในที่สุดก็เห็นผล ไม่เพียงเขาได้ติดทีมชาติอีกครั้ง แต่ยังคว้าโควตาไปแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ 2012 ที่กรุงลอนดอน ได้เดินทางกลับมาสู่สังเวียนพาราลิมปิกอีกครั้ง
           และ ยิ่งกว่านั้น พัทธยาสามารถคว้าเหรียญทอง มิใช่แค่ 1 แต่เป็น 2 เป็นผลงานสูงสุดที่ไม่เคยมีนักกีฬาบอคเซียทำได้ และช่วยเติมเต็มให้กับผลงานของทัพนักกีฬาไทยในพาราลิมปิกเกมส์ ทำผลงานได้ทะลุเป้า
          พัทธยาคว้าเหรียญทองแรกกับเพื่อนๆ ในการแข่งขันประเภททีมร่วมกับ วิษณุ ฮวดประเสริฐ, มงคล จิตรเสงี่ยม และ วัชรพล วงษา ก่อนจะมาคว้าเหรียญทองที่สองของตัวเองในการแข่งขันประเภททีม เหรียญที่เขาใฝ่ฝัน และสู้เพื่อฝันมาถึง 12 ปีเต็มๆ
          จึง ไม่แปลกที่ทันทีที่เขาเอาชนะ เดวิด สมิธ นักกีฬาจากสหราชอาณาจักรเจ้าถิ่นไป 7-0 เขาก็ถลาลงนอนกับพื้น พร้อมกับดีดดิ้นด้วยความยินดี เป็นการแสดงความดีใจแบบสุดๆ ที่ผู้คนรอบสนามต้องอมยิ้ม รวมทั้ง สมิธ คู่แข่งที่พ่ายแพ้ยังต้องหัวเราะ แต่วินาทีต่อจากนั้นรอยยิ้มก็เป็นความตื้นตันจนน้ำตาซึม เพราะพัทธยาที่ร่างกายไม่สมบูรณ์
          อย่าว่าแต่เดินแม้แต่ยืนยังทำด้วยตัวเองไม่ได้
          แต่พัทธยาล้มตัวคลุกไปกับพื้นพร้อมกับก้มลงกราบทั้ง 4 ทิศรอบตัว ขอบคุณแฟนๆ ขอบคุณทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาติใด
          เขา ไหว้ได้ไม่สวยเหมือนคนปกติ แต่มันงดงาม และทรงค่าเหลือเกินกับทุกผู้คนที่พบเห็นเป็นภาพประทับใจที่ใครใจไม่แข็งพอก็ ต้องน้ำตาซึม และเป็นภาพที่น่ารักเหลือเกิน ผู้ชมรอบสนามนับพันยืนลุกขึ้นปรบมือให้กับผู้ชายที่น่ารักคนนี้นานเกือบ 5 นาทีเต็มๆ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ค่อยได้พบนัก


          สำหรับพัทธยาวันนี้เขาไม่เพียงเป็นผู้ชนะในเกมแข่งขัน แต่เขายังชนะใจผู้ชมทุกคน มันเป็นชัยชนะที่เปี่ยมค่าเหลือเกิน