วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โพชฌังคปริตร

                               โพชฌังคปริตร

โพชฌังโค สะติสังขาโต        ธัมมานัง วิจะโย ตะถา    
โพชฌงค์ 7 ประการเหล่านี้ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ 
วิริยัมปีติปัสสัทธิ                    โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา        สัตเตเต สัพพะทัสสินา

สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
มุนินา สัมมะทักขาตา             ภาวิตา พะหุลีกะตา             
อันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งสิ้น ตรัสไว้ชอบแล้ว        
สังวัตตันติ อะภิญญายะ          นิพพานายะ จะ โพธิยา
อันบุคคลมาเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ             โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

เอกัสสะมิง สะมะเย นาโถ       โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะ
คิลาเน ทุกขิเต ทิสสะวา         โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
ซึ่งเป็นไข้ ถึงทุกขเวทนาแล้ว  ทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ
เต จะ ตัง อะภินันทิตตะวา       โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
ท่านทั้งสองก็เพลิดเพลินพระภาษิต หายจากโรคในขณะนั้น
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ             โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ              เคลัญเญนาภิปีฬิโต
ครั้งหนึ่ง แม้พระธรรมราชา (พระพุทธเจ้า) อันความประชวรเบียดเบียนแล้ว
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ           ภะณาเปตตะวานะ สาทะรัง
รับสั่งให้พระจุนทะเถระ แสดงโพชฌงค์นั้นโดยเคารพ
สัมโมทิตตะวา จะ อาพาธา     ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
 ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากความประชวรไปโดยฐานะ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ             โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
 ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ 

ปะฮีนา เต จะ อาพาธา            ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
มัคคาหะตะกิเลสา วะ              ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงความไม่เกิดขึ้นอีกเป็นธรรมดา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ             โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ



เรียงเรียงจาก http://writer.dek-d.com/anuchon13/story/viewlongc.php?id=832933&chapter=8
*123456

*123456

สวดโพชฌังคปริตร...เพื่อ...

ถาม – คุณแม่ดิฉันป่วยหนักและมีคนแนะนำให้สวดโพชฌังคปริตร ไม่ทราบว่าการสวดนี้จะช่วยรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างไรและความหมายของโพชฌังคปริตรนี้คืออะไรคะ?

ตอบ – “โพชฌงค์” แปลว่า องค์แห่งการตรัสรู้ หรือ ธรรมที่เป็นองค์ประกอบแห่งการตื่นรู้ สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ ธรรมะติดปีก ของผู้เขียน หรือ หนังสือชื่อ โพชฌงค์: พุทธวิธีเสริมสุขภาพ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้ ในที่นี้ขอแนะนำเพียงว่า “โพชฌงค์นั้นไม่เหมาะสำหรับการสวด แต่เหมาะสำหรับการปฏิบัติ เพราะเป็นหลักธรรมสำหรับการฝึกเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยตรง” ลำพังการสวดโดยที่ไม่เข้าใจและไม่ได้ลงมือปฏิบัติจะไม่มีผลมาก

แต่ในสมัยพุทธกาล เวลามีพระอาพาธท่านสวดบทนี้ฟังแล้วหายป่วยก็เพราะท่านเหล่านั้นเข้าใจเนื้อหาที่เป็นภาษาบาลีเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว การฟังสวดก็คือการทบทวนแก่นธรรม พาใจมาเกาะอยู่ที่ธรรม เป็นการย้ายจิตจากการเกาะติดอยู่กับความเจ็บไข้มาไว้ที่ธรรมก็จะทำให้จิตเกิดมีความเบาสบาย เมื่อจิตสดชื่นรื่นเริง โอกาสหายป่วยก็เป็นไปได้เพราะจิตกับกายอาศัยกัน ผู้เขียนเองเคยปฏิบัติด้วยตนเองก็รู้สึกว่าได้ผลมาก

ดังนั้นสำหรับฆราวาสที่ไม่เข้าใจภาษาบาลี แทนที่จะสวดเพื่อฟังอย่างเดียว ควรหาหนังสือธรรมะที่มีแก่นธรรมดี ๆ มาอ่านให้ผู้ป่วยฟังก็จะทำให้เข้าใจในธรรม เมื่อมีความเข้าใจในธรรมจิตก็จะสดชื่นรื่นเริงและสว่างไสว คราวนี้พอใจไม่ป่วย กายก็อาจหายป่วยได้ง่าย ๆ หรือแม้ไม่หายป่วยแต่ก็ได้ปัญญาที่จะทำให้อยู่กับความป่วยได้อย่างคนที่ไม่ป่วย เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “กายป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย” นั่นเอง

ที่มา: ถามดี ตอบโดน โดย ว.วชิรเมธี สำนักพิมพ์ ทำทันที 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น