วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

สังฆาภิคีติ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
สังฆาภิคีติ
(Sanghābhigītim) – Verses in praise of the Sangha
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาสรรเสริญพระสงฆ์เถิด
Now let us chant the verses in praise of the Sangha:
 
สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม,
ประกอบด้วยคุณ มีความปฏิบัติดี เป็นต้น,
The Sangha, born of the true doctrine (Dhamma), having excellent virtue of good practice, etc.

โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก,
The community of eight types of noble beings,

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิต อันอาศัยธรรม มีศีลเป็นต้น อันบวร,
Body and mind guided by superb doctrine, virtue and morality as the refuge,

วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง,
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้นอันบริสุทธิ์ด้วยดี,
I revere the community of that purified noble disciples,

สังโฆ โย สัพพะปาณีณัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์ หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย,
I revere with my head the Sangha, the excellent refuge of all being as the third jewel of recollection,

ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า,


สังฆัสสาหัสมิ ทาโส วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร, (ผู้ชายสวด)
สังฆัสสาหัสมิ ทาสี วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,   (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์,
พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
I am a servant of the Sangha, my master, guidance,

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์,
และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
The Sangha is the destroyer of suffering, upholds blessing and benefit for me,

สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์,
I devote this life to the Sangha,


วันทันโตหังจะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,  (ผู้ชายสวด)
วันทันตีหัง จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,  (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,
ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์,
With my reverence to the Sangha, I have followed good conduct of the Sangha,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,
พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,
With no other refuge, the Sangha is my superb refuge:

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้,
ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา,
By the utterance of this truth, may I progress in the religion of the Great Teacher,

สังฆัง เม วันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,  (ผู้ชายสวด)
สังฆัง เม วันทะมานายะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ, (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
Through the accrued merits of my effort and reverence to the Sangha, may I be free from all dangers.

(หมอบกราบลงแล้วว่า)
(bow down and say):

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,

สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์,

สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ,
เพื่อการสำรวมระวังในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป.
Any misdeeds by bodily acts, speech, and mind I have committed towards the Sangha, may all the offenses be pardoned, and to restrain from such wrongdoings in the future.

(จบคำทำวัตรเย็น)
(end of Evening Chant) 

*1234567

*1234567

ธัมมาภิคีติ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
ธัมมาภิคีติ (Dhammābhigītim) – Verses in praise of the Dhamma

(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาสรรเสริญพระธรรมเถิด
Now let us chant the verses in praise of the Dhamma:

สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ,
คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น,
The Dhamma is superior, excellent virtues, well expounded by the Blessed One,

โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน,
Divided as Path and fruition, theory, practice, realization - nibbana,

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว,
The practitioners are protected from miserable world and woeful realms,

วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น,
อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด,
I revere the Dhamma, the destroyer of darkness of ignorance
 

ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย,
The Dhamma, the supreme refuge of all beings,

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า,
I revere with my head that Dhamma as the second jewel of recollection,

ธัมมัสสาหัสมิ ทาโสวะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร, (ผู้ชายสวด)
ธัมมัสสาหัสมิ ทาสี วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร, (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม,
พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
I am a servant of the Dhamma, my master, guidance,

ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์,
และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
The Dhamma is the destroyer of suffering, upholds blessing and benefit for me 

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระธรรม,
I devote this life to that Dhamma,

วันทันโตหังจะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง, (ผู้ชายสวด)
วันทันตีหัง จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง, (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,
ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม,
With my reverence to Dhamma, I have followed the great virtue of doctrine,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,
พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,
With no other refuge, Dhamma is my superb refuge,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้,
ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
By the utterance of this truth, may I progress in the religion of the Great Teacher.

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,  (ผู้ชายสวด)
ธัมมัง เม วันทะมานายะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ, (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
Through the accrued merit of my effort and reverence to the Dhamma, may I be free from all dangers.

(หมอบกราบลงแล้วว่า)
(bow down and say):

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม,

ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.

เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป.
Any misdeeds by bodily acts, speech, and mind I have committed towards the Dhamma, may all the offenses be pardoned, and to restrain from such wrongdoings in the future.

*1234567

*1234567

ภาษาอังกฤษจาก
http://www.thailandqa.com/forum/showthread.php?32134-Chanting-Pali-Thai-English-and-translation/page2 

ธัมมานุสสติ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
ธัมมานุสสติ  
(Dhammānussati) - Recollection of the Dhamma
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด
Now let us chant recollection of the attributes of the Dhamma

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
Dhamma is well expounded by the Blessed One, perfect in meaning,

สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
The practitioner of Dhamma can see and directly experience the result, immediate reality,

อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
The Dhamma is timeless, immediate result, unconditioned by time or season,

เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,
Come and see to experience (inviting all to examine) result of the Dhamma, 

โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
Leading inwards, leading us to our depths - inner peace, leading towards Nibbana

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
can be attained individually by the wise.

*1234567

*1234567

ภาษาอังกฤษจาก
http://www.thailandqa.com/forum/showthread.php?32134-Chanting-Pali-Thai-English-and-translation/page2

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

พุทธาภิคีติ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
พุทธาภิคีติ
(Buddhābhigītim) – Verses in praise of the Buddha
หันทะ มะยัง พุทธำภิคีติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาสรรเสริญพระพุทธเจ้าเถิด
Now let us chant the verses in praise of the Buddha

พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ,
มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น,
The Buddha is endowed with great virtues, purest morality, and worthiness,

สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ,
และพระกรุณาอันบริสุทธิ์,
In him, with ultimate in wisdom, knowledge and purified, infinite compassion,


โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน,
ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน,
Awakens the wise likened lotus blooms when the sun rises,
 

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น
ด้วยเศียรเกล้า,
I revere with my head that Jina, who conquered all defilements and impurities,

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,
The Buddha, the supreme refuge for all beings,

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า,
I revere with my head that Buddha as the first jewel of recollection.

พุทธัสสาหัสมิ ทาโส วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร, (ผู้ชายสวด)
พุทธัสสาหัสมิ ทาสี วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร, (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
I am a servant of the Buddha, my master and guidance.

พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์,
และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
The Buddha is the destroyer of suffering, upholds blessing and benefit for me,

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า,
I devote this life to the Buddha

วันทันโตหัง จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง (ผู้ชายสวด)
วันทันตีหัง จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,
ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า,
With my profound reverence, I have followed the supreme knowledge of the Buddha,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,
With no other refuge, the Buddha is my noble refuge:

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้,
ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
By the utterance of this truth, may I progress in the religion of the Great Teacher.

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ (ผู้ชายสวด)
พุทธัง เม วันทะมานายะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ (ผู้หญิงสวด)
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า,
ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,


สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า,
ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
Through the accrued merit of my effort and reverence to the Buddha, may I be free from all dangers.

(หมอบลงกราบ แล้วสวดว่า)
(bow down and say)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระพุทธเจ้า,

พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.

Any misdeeds by bodily acts, speech, and mind I have committed towards the Buddha, may all the offenses be pardoned, and to restrain from such wrongdoings in the future.

*1234567

*1234567

ภาษาอังกฤษจาก
http://www.thailandqa.com/forum/showthread.php?32134-Chanting-Pali-Thai-English-and-translation/page2

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

พุทธานุสสติ หรือ บทสวด อิติปิโส

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
(หมายเหตุ : พุทธานุสติ เป็นการทำสมาธิวิธีหนึ่ง โดยการน้อมจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา เพื่อให้จิตรวมเป็นหนึ่ง คือคิดถึงเรื่องคุณของพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียว ไม่คิดวอกแวกถึงเรื่องอื่น จิตจึงเป็นสมาธิขึ้นมาได้
ผลจากการระลึกฯ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะเป็นการปรับสภาพจิตให้ประณีตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะทำให้จิตเข้าสู่ระดับมหากุศลขั้นพื้นฐาน อันเนื่องมาจากความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธานั่นเอง อันจะส่งผลให้สมาธิเกิดได้ง่ายขึ้น
อ่านคำอธิบายที่ http://www.dhammathai.org/treatment/concentration/concentrate04.php )

พุทธานุสสติ Buddhanussati
Recollection of the Buddha
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสตินะยัง กะโรมะ เส.)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด
Now let us chant recollection of the attributes of the Buddha


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลฺยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า,
The great reputation of the Blessed One has spread throughout the worlds:

(อิติปิโส เริ่มตรงนี้
สวดเท่าอายุบวกหนึ่ง หรือ เก้าจบ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และเป็นการแสดงความเคารพในพระรัตนตรัย)
อิติปิ โส ภะคะวา
เพราะเหตุอย่างนี้ อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
He is the Blessed One,

อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
A Worthy One, purity and perfection, he is entirely free from all defilements, 

สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
fully enlightened* by himself

วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,
He is perfect in knowledge* and moral conduct**, accomplished in the conduct leading to awareness or cognitive skill, omniscient.

สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
Completely liberated himself from mental suffering, the Accomplished One for welfare of all beings,

โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
He is the knower of the worlds as they really are,

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
He is incomparable in teaching beings,

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
He is the Teacher and the Leader of human beings, celestial beings, and brahmas

พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
He knows the Truths, the Awakened One, Enlightened One,

ภะคะวา ติ.
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.
The Blessed One, the Holy One, with incomparable worthy attributes, having fulfilled with parami (10 perfections), direct knowledge, supernormal powers, and providing clear comprehension of Truths in accordance with nature and attributes of those to be tamed.

*1234567

*1234567

ภาษาอังกฤษจาก
http://www.thailandqa.com/forum/showthread.php?32134-Chanting-Pali-Thai-English-and-translation/page2

บทสวดอิติปิโสฯ
จาก http://th.wikisource.org/wiki - บทสวดอิติปิโสฯ

บทสวดอิติปิโสฯ
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ.

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

คำแปล บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส )
สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี )
โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
สัตถา เทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม )
ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเณยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )
อัญชะลีกะระณีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )
****

****

วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

คำบูชาพระรัตนตรัย

คำบูชาพระรัตนตรัย
DEDICATION OF OFFERINGS 
(ผู้ชายนั่งคุกเข่า, ผู้หญิงนั่งคุกเข่าราบ)

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
To the Blessed One, the Lord who fully attained perfect enlightenment,
สะวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว,
To the Teaching which be expounded so well,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,
And to the Blessed One’s disciples, who have practised well
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้,
อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร,
To these- the Buddha, the Dbamma and the Sangha
We render with offerings our rightful bomage.
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ปรินิพพานนานแล้ว,
ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
It is well for us that the Blessed One having attained liberation,
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า, อันเป็นชนรุ่นหลัง,
Still had compassion for later generations.
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า, จงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้,
May these simple offerings be accepted
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย,
ตลอดกาลนาน เทอญ.
For our long-lasting benefit and for the happiness it gives us.


*1234567*

*1234567*

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

รตนัตตยัปปณามคาถา

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
รตนัตตยัปปณามคาถา (Ratanattayapanamagatha)
Salutation to the Triple Gem
(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัย และบาลีที่กำหนดวัตถุเครื่องแสดงความสังเวชเถิด)
Now let us chant our salutation to the Triple Gem and a passage for dispassionateness

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว,
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,
The Blessed one, purified, and having ocean-like compassion,

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใดมีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด,
He possessed the eye of higher knowledge, completely purified and superb,

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลสของโลก,
He is the destroyer of wickedness and upakilesa* of the world

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
I revere that Buddha with devotion.

ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป,
The doctrine of the Great Teacher, the Enlightened One, likened an illuminating lamp,

โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก,
จำแนกประเภทคือมรรคผลนิพพาน, ส่วนใด,
classified in path, fruition, and Nibbana
 
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,
Points out what lokuttara* is, and the path to this goal,
*lokuttara (โลกุตตระ) – 9 things of transcending the world: 4 paths and 4 fruitions, nibbana is the ninth

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
I revere that Dhamma with devotion.
 
สังโฆ สุเขตตา ภะยะติเขตตะสัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,
The Sangha, the great best field for cultivating merits,

โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด,
They have seen the insight, nibbana and awakened after the Accomplished One,

โลลัปปะฮีโน อะริโย สุเมธะโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเลเป็นพระอริยเจ้ามีปัญญาดี,
They have abandoned defilements, become the noble ones, the wise.

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
I revere that Sangha with devotion.

อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง,
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา,
มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา,
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม,
คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว,
ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้,
ขออุปัททวะทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย,ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น,
By the power of accrued merits of my reverence and practice following to the Triple Gem, may I be free from all kinds of evil, horrid, inauspicious things, mishap and dangers.

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน,
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้, 

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, 
The Tathagata, the Worthy, Rightly and Self-Awakened One has appeared in this world, all defilements completely eradicated from his mind.

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่พระสุคตประกาศ, 
He declared the doctrine for the extinction of defilements, the cessation of suffering, leads to higher knowledge, and directing to enlightenment, to nibbana.

มะยันตัง ธัมมัง สุตตะวา เอวัง ชานามะ,
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า,
Having heard this doctrine, we know this:

ชาติปิ ทุกขา,
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,

ชะราปิ ทุกขา,
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง,
แม้ความตายก็เป็นทุกข์, 
Birth is suffering, aging is suffering, death is suffering,

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพันความไม่สบายกายความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์, 
Sorrow, lamentation, physical and mental discomfort, pain, distress, despair and resentment are suffering,

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์, 
Association with what is disliked is suffering, separation from what is liked is suffering, not getting what one wants is suffering,

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,
In brief, the five aggregates of attachment are suffering,
 
เสยยะถีทัง,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ, 
Namely

รูปูปาทานักขันโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป, 
Form (corporeality – สภาวะที่มีตัวตน)* as a clinging-aggregate,

เวทะนูปาทานักขันโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา, 
Feeling* as a clinging-aggregate,

สัญญูปาทานักขันโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา, 
Perception* as a clinging-aggregate,
 
สังขารูปาทานักขันโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร, 
Mental processes as a clinging-aggregate

วิญญาณูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ, 
Consciousness as a clinging-aggregate,

เยสัง ปะริญญายะ,
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา, จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก,
The Blessed One frequently reminded his disciples to contemplate these 5 clinging - aggregates.


เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก,
มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า, 
The Bless One further explained to his disciples that:

รูปัง อะนิจจัง,                  รูปไม่เที่ยง,
เวทะนา อะนิจจา,            เวทนาไม่เที่ยง,
สัญญา อะนิจจา,             สัญญาไม่เที่ยง,
สังขารา อะนิจจา,            สังขารไม่เที่ยง,
วิญญาณัง อะนิจจัง,       วิญญาณไม่เที่ยง,
Form (body) is impermanent, Feeling is impermanent, Perception is impermanent, Mental processes (formations) are impermanent, Consciousness is impermanent.

รูปัง อะนัตตา,                 รูปไม่ใช่ตัวตน,
เวทะนา อะนัตตา,         เวทนาไม่ใช่ตัวตน,
สัญญาอะนัตตา,             สัญญาไม่ใช่ตัวตน,
สังขาราอะนัตตา,             สังขารไม่ใช่ตัวตน,
วิญญาณัง อะนัตตา,       วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,
Form (body) is not-self, Feeling is not-self, Perception is not-self, Mental processes (formations) are not-self, Consciousness is not-self,

สัพเพ สังขารา อะนิจจา, 
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ,
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้,
All conditions are impermanent, all nature of things are not-self.
 
เตมะยัง โอติณณามะหะ,  (ผู้ชายสวด)
ตามะยัง โอติณณามะหะ,  (ผู้หญิงสวด)
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,
ชาติยา,
โดยความเกิด,
ชะรามะระเณนะ,
โดยความแก่และความตาย, 
All of us are subject to birth, aging, and death,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ,
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย, 
Sorrow, lamentations, physical and mental discomfort, pain, distress, despair, grief, resentment

ทุกโขติณณา,
เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,
ทุกขะปะเรตา,
เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,
อัปเปวะนามิมิสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ 
อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้,
จะพึ่งปรากฏชัด แก่เราได้.
Bounded with suffering, what action to end entirely of all sufferings might be known to us,


สำหรับพระภิกษุและสามเณรสวด
(อุบาสก-อุบาสิกา นั่งฟัง)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า,
ผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง,
แม้ปรินิพพานนานแล้ว, พระองค์นั้น,
สัทธา อะคารัสสะมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว,
ตัสสะมิง ภะคะวะติ พรัหมะจะริยัง จะรามะ,
ประพฤติซึ่งพรหมจรรย์ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา,
ถึงพร้อมด้วยสิกขา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย,
ตังโน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ.
 
สำหรับอุบาสก อุบาสิกาสวด
(พระภิกษุ-สามเณร นั่งฟัง)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
เราทั้งหลาย, ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,
แม้ปรินิพพานนานแล้ว, พระองค์นั้นเป็นสรณะ,
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ,
ถึงพระธรรมด้วยถึงพระสงฆ์ด้วย,
Though the Blessed One attained parinibbana long ago, we have reached the Buddha, and taken that Buddha, his Teachings (Dhamma), and his Disciples (Sangha) as our refuge and guidance.

ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง 
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ, 
จักทำในใจอยู่, ปฏิบัติตามอยู่,
ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง,
สา สา โน ปะฏิปัตติ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย,
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้เทอญ.
As strength allow us to practice and mindfulness in the Teachings of the Blessed One, may this practice lead us to the extinction of all sufferings.

(จบคำทำวัตรเช้า)  (end of morning chant)
*1234567*

*1234567*

วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

สังฆาภิถุติ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
สังฆาภิถุติ  
Praise to the Sangha
(หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะพระสงฆ์เจ้าเถิด)
Now let us chant in praise of the Sangha:

โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,
The Sangha, the Blessed One's disciples who have practiced well,

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,
The Sangha, the Blessed One's disciples who have practiced straight,

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
The Sangha, the Blessed One's disciples who have practiced insightfully, to abandon sufferings,
 
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,
The Sangha, the Blessed One's disciples who have practiced with integrity, right conduct,

ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ,

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ,
That is the four pairs, the eight kinds of noble beings
 
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
That is the Sangha, the Blessed One's disciples,

อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,
ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,
อัญชะลิกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,
Worthy of gifts, worthy of hospitality, worthy of offerings, worthy of respect,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า,
The supreme field of merit (punna) for the world,

ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น,
I worship that Sangha

ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
I bow my head to the Sangha.

(กราบรำลึกพระสังฆคุณ)
(prostrate once)


*1234567*

*1234567*

แปลอังกฤษจาก
http://www.thailandqa.com/forum/showthread.php?32134-Chanting-Pali-Thai-English-and-translation/page2

วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

ธัมมาภิถุติ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
ธัมมาภิถุติ

Praise to the Dhamma
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำการสวดสรรเสริญพระธรรมเถิด
Now let us chant in praise of the Buddha

โย โส สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
   พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
   The Doctrine well expounded by the Blessed One,

สันทิฏฐิโก,
   เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
   Apparent here and now,

อะกาลิโก,
   เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
   Timeless,

เอหิปัสสิโก,
   เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด,
   inviting all to come and see (to experience the result of practicing Dhamma),

โอปะนะยิโก,
   เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
   Leading inwards,


ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,

   เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,
   To be experienced individually by the wise,

ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
   ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระธรรมนั้น,
   I worship that Dhamma.

ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.
   ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้า.
   I bow my head to the Dhamma.

(กราบระลึกถึงพระธรรม)  (prostrate once)

คำแปลจาก http://www.thailandqa.com/forum/showthread.php?32134-Chanting-Pali-Thai-English-and-translation/page2


**1234567*

**1234567*

วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปุพพภาคนมการ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
หมายเหตุ 
ก่อนการสวดมนต์ในพิธีต่างๆ เราจะแสดงความนอบน้อมระลึกถึงพระคุณแห่งองค์พระศาสดาก่อน. การทำเช่นนี้ถือเป็นการฝึกฝนให้ เราชาวพุทธเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้มีพระคุณอย่างหนึ่ง, เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจอย่างหนึ่ง, เพื่อเป็นการตั้งให้เกิดสมาธิระลึกรู้กิจที่จะพึงทำในขั้นตอนต่อไปอย่าง หนึ่ง.
นโม     อันว่า ความนอบน้อม
ตสฺส     พระผู้มีพระภาคเจ้า
ภควโต     พระองค์นั้น
อรหโต     ผู้ไกลจากกิเลส (เป็นพระอรหัน)
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส     ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
โหตุ     จงมี (โหตุ)* เติมเพื่อให้ประโยคสมบรูณ์ตามหลักภาษาบาลี
ปุพพภาคนมการ
Preliminary homage
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)


(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น,

อะระหะโต
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

(สวด 3 ครั้ง) 

Homage to the Blessed One, the Worthy One, the Perfectly Self-awakened One. 


*****

) ***** 

พุทธาภิถุติ

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
พุทธาภิถุติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)

(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด) *1
Now let us chant in praise of the Buddha:*2

โย โส ตะถาคะโต,
   พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใด,
อะระหัง,
  เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทโธ, 
  เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

The Tathagata (the One who realized the Truths – the Buddha) who is free from defilements, the Worthy One, Rightly Self-awakened, 
 
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,
สุคะโต,
  เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
โลกะวิทู,
  เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
He is perfect in knowledge (theory) and conduct (practice), the Accomplished One, the knower of the worlds,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
  เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่า,
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
  เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
พุทโธ,
  เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
ภะคะวา,
  เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,
He trains perfectly those who can be trained, He is the Teacher of human and divine beings, He is Awakened, Blessed, and Holy.
 
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัหมะกัง, 
สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง 
อภิญญา สัจฉิกัตะวา ปะเวเทสิ,
  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้ว,
  ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดามารพรหม, และหมู่สัตว์ทั้งสมณพราหมณ์,
  พร้อมทั้งเทวาดาและมนุษย์ให้รู้ตาม,
The Blessed One had realized the intuitive knowledge of the Truths, made known to this world and expounded to deities, mara (devil), brahma, recluses, sages, celestial and human beings. 
โย ธัมมัง เทเสสิ,
  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว,
อาทิกัลละยาณัง,
  ไพเราะในเบื้องต้น,
มัชเฌกัลละยาณัง,
  ไพเราะในท่ามกลาง,
ปะริโยสานะกัลละยาณัง,
  ไพเราะในที่สุด,
The Blessed One preached the Dhamma, noble in the beginning, noble in the middle, noble in the end.
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง
พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ,
  ทรงประกาศพรหมจรรย์,
  คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้งเชิง,
  พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ, 
The Blessed One expounded a complete, purified, holy life both in exemplification and meaning. 
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ,
  ข้าพเจ้าบูชายิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า,
  พระองค์นั้น,
I worship that Blessed One. 
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ
  ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระเจ้า,
  พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า.
I bow my head to the Blessed One.
(กราบรำลึกถึงพระพุทธเจ้า)
(prostrate once)

-*1234567*-
)
-*1234567*-

1. แปลจาก website นี้ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=805897
2. ภาษาอังกฤษ จาก website http://www.thailandqa.com/forum/showthread.php?32134-Chanting-Pali-Thai-English-and-translation/page2

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

คำกราบพระรัตนตรัย

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
(หมายเหตุ : บทความอธิบาย การบูชาพระรัตนตรัย) 

อะระหัง, สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,   
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,
ตรัสรู้โดยชอบได้โดยพระองค์เอง,

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน,
(กราบ)

สะวากขาโต, ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว,
 

ธัมมัง นะมัสสามิ,
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม, 
(กราบ)

สุปะฏิปันโน, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว,

สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.
(กราบ)

(ตัวเอียง : สำหรับคนนำสวด) 



**1234567***
)
**1234567***

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

คำบูชาพระรัตนตรัย

คำบูชาพระรัตนตรัย
DEDICATION OF OFFERINGS
(ผู้ชายนั่งคุกเข่า, ผู้หญิงนั่งคุกเข่าราบ)

โย โส, ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
     พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,

     ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
To the Blessed One, the Lord who fully attained perfect enlightenment,
สะวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
     พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์ใด,ตรัสไว้ดีแล้ว,

To the Teaching which be expounded so well,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
     พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์ใด,ปฏิบัติดีแล้ว

And to the Blessed One’s disciples, who have practised well
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น,
    พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,
    ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้,
    อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร,

To these- the Buddha, the Dbamma and the Sangha
We render with offerings our rightful bomage.
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ,

    พระผู้มีพระภาคเจ้า,แม้ปรินิพพานนานแล้ว,
    ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,
It is well for us that the Blessed One having attained liberation,
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
    ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง,

Still had compassion for later generations.
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
     ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า, จงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาธิการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้,

May these simple offerings be accepted
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
     เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งลาย, 

     ตลอดกาลนานเทอญ
For our long-lasting benefit and for the happiness it gives us.

******
คัดลอกบางส่วนจาก
http://www.dhammathai.org/treatment/pray/pray02.php 
คำแปลอังกฤษ จากการค้น google
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บท สำหรับแข่งทักษะ
http://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=4&ved=0CEoQFjAD&url=http%3A%2F%2Fwww.slideshare.net%2Fssuser318d96%2F7-25489303&ei=tT4hU5nuIqyZiQfQ6oGACw&usg=AFQjCNGLPQS8PTg4jh0ZbFjTNH4AidIdxg&sig2=J_DuFiA196U9qwjidTt2Sw&bvm=bv.62922401,d.aGc&cad=rja

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

วัตถุประสงค์

ถ้าเราต้องการนำคำสอน หรือ บทสวดมนต์ เข้ามาอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราจะทำได้อย่างไร
เช่น
* ตอนเช้า ก่อนออกจากบ้านไปทำงาน ไปเรียนหนังสือ ไปสอบ ควรสวดมนต์บทไหน เพราะเหตุใด

* ตอนนอน สวดมนต์ก่อนนอน ควรสวดบทไหน เพราะเหตุใด เป็นต้น