วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

อนุโมทนาคาถา (อนุโมทนารัมภคาถา)

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
อนุโมทนาคาถา (อนุโมทนารัมภคาถา)

(หมายเหต) อนุโมทนากถา เป็นบทสวดมนต์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่สวดเพื่อมุ่งประสงค์ให้ผู้ถวายทานแก่พระสงฆ์เกิดความยินดีในทาน หรือเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้ถวาย ในสมัยพุทธกาล พระสูตรสำคัญ ๆ เกิดจากคำอนุโมทนากถาของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ผู้ถวายทานตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จไปรับบิณฑบาต[1] ปัจจุบันพระสงฆ์มีบทสวดสำหรับอนุโมทนาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะตัดตอนมาจากพระสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบทที่พระสงฆ์ใช้สวดเป็นประจำไม่กี่พระสูตร แต่บทที่พระสงฆ์สวดนำเป็นปกติทุกครั้งก่อนที่จะสวดเนื้อหาในพระสูตรคือ บทอนุโมทนารัมภกถา และบทสามัญญานุโมทนากถา (แปลว่าบทสวดเริ่มต้นและบทสวดปกติ) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ยถา-สัพพี ซึ่งเป็นบทสวดที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ โดยบทยถาเป็นการให้พรอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บทสัพพีมีเนื้อหากล่าวถึงการอำนวยมงคลและอวยพรให้ผู้ถวายทานปราศจากอันตรายทั้งหลาย

(จาก วิกิพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2)


ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง,
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด,

เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ,
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในวันนี้,
ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น,

อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง,
ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว,

ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ,
จงสำเร็จโดยฉับพลัน,

สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา,
ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่,

จันโท ปัณณะระโส ยะถา,
เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ,

มะณิ โชติระโส ยะถา.
เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี.

*1234567

*1234567


*1234567

*1234567

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น