วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

มงคลสูตร (มังคลสุตตัง)

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
มงคลสูตร (มังคลสุตตัง)
(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะนามะ เส.)

(หมายเหตุ 1)
...บทเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร บทสวดมนต์ มังคะละสุตตัง หรือ มงคลสูตร พระสูตรที่กล่าวถึงสิ่งที่ทำให้เกิดมงคลแก่ชีวิต ๓๘ ประการ นิยมสวดเพื่อให้เกิดสิริมงคลในชีวิต ใจความโดยย่อของบทสวดมนต์ มังคะละสุตตัง หรือมงคลสูตร กล่าวถึงข้อสงสัยของเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลายที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลาอันยาวนานถึงสิ่งที่เป็นมงคลอันสูงสุดของชีวิต  จากปัญหาดังกล่าวท้าวสักกะเทวราชจึงแนะนำให้เทวดาเหล่านั้นนำปัญหาข้อสงสัยไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงตรัสแสดงถึงสิ่งอันเป็นมงคลอันสูงสุดในพระพุทธศาสนาไว้ ๓๘ ประการ ...
จาก http://www.suadmonnetwork.com/2011/07/blog-post_2613.html
...
(หมายเหตุ 2)
บทสวดมงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ในเล่มที่ ๒๕ มีสองพระสูตร เนื้อความเหมือน ๆ กัน
มงคลสูตรที่ ๕ ในขุททกปาฐะ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๕-๖
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

มงคลสูตรที่ ๔ ในสุตตนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๓๑๗-๓๑๘
                         การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควร
                         บูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
                         ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้
                         ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่
                         ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุง
                         มารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่
                         อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑
                         การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                         การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
                         ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                         ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑
                         ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑  นี้เป็นอุดมมงคล
                         ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะ
                         ทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                         ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การ
                         กระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอัน
                         โลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้า-
                         โศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดา
                         และมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยใน
                         ข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็น
                         อุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ ...
จาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0c48f0a1a1f2ad3b

เอวัมเม  สุตัง,
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้,

เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา,
สมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า,

สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน,
เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของ

อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม,
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี,

อะถะโข  อัญญะตะรา  เทวะตา,
ครั้งนั้นแล เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง,

อะภิกกันตายะ  รัตติยา,
ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว,

อะภิกกันตะวัณณา,
มีรัศมีอันงามยิ่งนัก,

เกวะละกัปปัง  เชตะวะนัง,
ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง,

โอภาเสตะวา,
เยนะ  ภะคะวา  เตนุปะสังกะมิ,
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น,

อุปสังกะมิตวา  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทตวา,
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว,

เอกะมันตัง  อัฏฐาสิ,
ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง,

เอกะมันตัง  ฐิตา  โข  สา  เทวะตา,
ครั้นเทพยดานั้น ยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล,

ภะคะวันตัง  คาถายะ  อัชฌะภาสิ,
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า,

พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง,
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ  มังคะละมุตตะมัง,
เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
หมู่เทวดาและมนุษย์มากหลาย,
มุงหมายความเจริญก้าวหน้า, ได้คิดถึงเรื่องมงคลแล้ว,
ขอพระองค์ทรงบอกทางมงคลอันสูงสุดเถิด,
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า, ทรงตรัสตอบดังนี้ว่า,

อะเสวะนา  จะ  พาลานัง,
การไม่คบคนพาล,

ปัณฑิตานัญ จะ  เสวะนา,
การคบบัณฑิต,

ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง,
การบูชาต่อบุคคลที่ควรบูชา,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสามอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
              
ปะฏิรูปะเทสะวาโส  จะ,
การอยู่ในประเทศอันสมควร,

ปุพเพ  จะ  กะตะปุญญะตา,
การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อนแล้ว,

อัตตะ สัมมา ปะณิธิ จะ,
การตั้งตนไว้ชอบ,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสามอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
                           
พาหุสัจจัญจะ,
การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,

สิปปัญจะ,
การมีศิลปวิทยา,

วินะโย จะ สุสิกขิโต,
วินัยที่ศึกษาดีแล้ว,                      

สุภาสิตา จะ ยา วาจา,
วาจาที่เป็นสุภาษิต,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,


มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,
การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา,

ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห,
การสงเคราะห์บุตรและภรรยา,

อะนากุลา จะ กัมมันตา,
การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสามอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ทานัญจะ,
การบำเพ็ญทาน,

ธัมมะจะริยา จะ,
การประพฤติธรรม,

ญาตะกานัญจะ สังคะโห,
การสงเคราะห์หมู่ญาติ,

อะนะวัชชานิ  กัมมานิ,
การงานอันปราศจากโทษ,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,


อาระตี วิระตี ปาปา,
การงดเว้นจากบาปกรรม,

มัชชะปานา จะ สัญญะโม,
การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้จากการดื่มน้ำเมา,

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ,
การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสามอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

คาระโว จะ,
ความเคารพอ่อนน้อม,

นิวาโต จะ,
ความถ่อมตัวไม่เย่อหยิ่ง, 

สันตุฏฐี จะ,
ความสันโดษยินดีในของที่มีอยู่,

กะตัญญุตา,
ความเป็นคนกตัญญู,


กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง,
การฟังธรรมตามกาล,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจห้าอย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,


ขันตี จะ,
ความอดทน,

โสวะจัสสะตา,
ความเป็นคนว่าง่ายสอนง่าย,

สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง,
การพบเห็นสมณะผู้สงบจากกิเลส,

กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา,
การสนทนาธรรมตามกาล,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ตะโป จะ,
ความเพียรเผากิเลส,

พรัหมะจะริยัญจะ,
การประพฤติพรหมจรรย์,
                                   
อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง,
การเห็นอริยสัจ,
                          
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ,
การทำพระนิพพานให้แจ้ง,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ,
จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย, ถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว,

อะโสกัง,
เป็นจิตไม่เศร้าโศก,

วิระชัง,
เป็นจิตไร้ธุลีกิเลส,

เขมัง,
เป็นจิตอันเกษมศานต์,

เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

เอตาทิสานิ กัตตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา,
สัพพัตถะ  โสตถิง  คัจฉันติ, ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมัง,
หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
ได้กระทำมงคลทั้งสามสิบแปดประการเหล่านี้ให้มีในตนแล้ว,
จึงเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง,
ย่อมถึงความสวัสดีในทุกสถาน, ทั้งหมดนี้เป็นมงคล,
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้,

อิติ.
ด้วยประการฉะนี้แล.

...........................................................
http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
คัดลอกจาก......หนังสือธรรมานุสรณ์
วัดถ้ำแฝด  ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
คำแปลบางตอน ใช้จากหนังสือ "บทสวดมนต์" (ใช้สวดมนต์ทำวัตรที่วัดสันป่าสักวรอุไร)

*1234567

*1234567

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น