วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

รตนัตตยัปปณามคาถา

(ข้อแนะนำ : click ฟังเสียงสวดใน video ด้านล่าง แล้วกลับมาอ่านบทสวดไปพร้อมเสียงสวดใน video)
รตนัตตยัปปณามคาถา (Ratanattayapanamagatha)
Salutation to the Triple Gem
(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัย และบาลีที่กำหนดวัตถุเครื่องแสดงความสังเวชเถิด)
Now let us chant our salutation to the Triple Gem and a passage for dispassionateness

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว,
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,
The Blessed one, purified, and having ocean-like compassion,

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใดมีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด,
He possessed the eye of higher knowledge, completely purified and superb,

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลสของโลก,
He is the destroyer of wickedness and upakilesa* of the world

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
I revere that Buddha with devotion.

ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป,
The doctrine of the Great Teacher, the Enlightened One, likened an illuminating lamp,

โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก,
จำแนกประเภทคือมรรคผลนิพพาน, ส่วนใด,
classified in path, fruition, and Nibbana
 
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,
Points out what lokuttara* is, and the path to this goal,
*lokuttara (โลกุตตระ) – 9 things of transcending the world: 4 paths and 4 fruitions, nibbana is the ninth

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
I revere that Dhamma with devotion.
 
สังโฆ สุเขตตา ภะยะติเขตตะสัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,
The Sangha, the great best field for cultivating merits,

โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด,
They have seen the insight, nibbana and awakened after the Accomplished One,

โลลัปปะฮีโน อะริโย สุเมธะโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเลเป็นพระอริยเจ้ามีปัญญาดี,
They have abandoned defilements, become the noble ones, the wise.

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
I revere that Sangha with devotion.

อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง,
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา,
มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา,
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม,
คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว,
ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้,
ขออุปัททวะทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย,ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น,
By the power of accrued merits of my reverence and practice following to the Triple Gem, may I be free from all kinds of evil, horrid, inauspicious things, mishap and dangers.

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน,
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้, 

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, 
The Tathagata, the Worthy, Rightly and Self-Awakened One has appeared in this world, all defilements completely eradicated from his mind.

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่พระสุคตประกาศ, 
He declared the doctrine for the extinction of defilements, the cessation of suffering, leads to higher knowledge, and directing to enlightenment, to nibbana.

มะยันตัง ธัมมัง สุตตะวา เอวัง ชานามะ,
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า,
Having heard this doctrine, we know this:

ชาติปิ ทุกขา,
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,

ชะราปิ ทุกขา,
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง,
แม้ความตายก็เป็นทุกข์, 
Birth is suffering, aging is suffering, death is suffering,

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพันความไม่สบายกายความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์, 
Sorrow, lamentation, physical and mental discomfort, pain, distress, despair and resentment are suffering,

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์, 
Association with what is disliked is suffering, separation from what is liked is suffering, not getting what one wants is suffering,

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,
In brief, the five aggregates of attachment are suffering,
 
เสยยะถีทัง,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ, 
Namely

รูปูปาทานักขันโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป, 
Form (corporeality – สภาวะที่มีตัวตน)* as a clinging-aggregate,

เวทะนูปาทานักขันโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา, 
Feeling* as a clinging-aggregate,

สัญญูปาทานักขันโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา, 
Perception* as a clinging-aggregate,
 
สังขารูปาทานักขันโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร, 
Mental processes as a clinging-aggregate

วิญญาณูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ, 
Consciousness as a clinging-aggregate,

เยสัง ปะริญญายะ,
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา, จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก,
The Blessed One frequently reminded his disciples to contemplate these 5 clinging - aggregates.


เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก,
มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า, 
The Bless One further explained to his disciples that:

รูปัง อะนิจจัง,                  รูปไม่เที่ยง,
เวทะนา อะนิจจา,            เวทนาไม่เที่ยง,
สัญญา อะนิจจา,             สัญญาไม่เที่ยง,
สังขารา อะนิจจา,            สังขารไม่เที่ยง,
วิญญาณัง อะนิจจัง,       วิญญาณไม่เที่ยง,
Form (body) is impermanent, Feeling is impermanent, Perception is impermanent, Mental processes (formations) are impermanent, Consciousness is impermanent.

รูปัง อะนัตตา,                 รูปไม่ใช่ตัวตน,
เวทะนา อะนัตตา,         เวทนาไม่ใช่ตัวตน,
สัญญาอะนัตตา,             สัญญาไม่ใช่ตัวตน,
สังขาราอะนัตตา,             สังขารไม่ใช่ตัวตน,
วิญญาณัง อะนัตตา,       วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,
Form (body) is not-self, Feeling is not-self, Perception is not-self, Mental processes (formations) are not-self, Consciousness is not-self,

สัพเพ สังขารา อะนิจจา, 
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ,
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้,
All conditions are impermanent, all nature of things are not-self.
 
เตมะยัง โอติณณามะหะ,  (ผู้ชายสวด)
ตามะยัง โอติณณามะหะ,  (ผู้หญิงสวด)
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,
ชาติยา,
โดยความเกิด,
ชะรามะระเณนะ,
โดยความแก่และความตาย, 
All of us are subject to birth, aging, and death,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ,
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย, 
Sorrow, lamentations, physical and mental discomfort, pain, distress, despair, grief, resentment

ทุกโขติณณา,
เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,
ทุกขะปะเรตา,
เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,
อัปเปวะนามิมิสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ 
อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้,
จะพึ่งปรากฏชัด แก่เราได้.
Bounded with suffering, what action to end entirely of all sufferings might be known to us,


สำหรับพระภิกษุและสามเณรสวด
(อุบาสก-อุบาสิกา นั่งฟัง)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า,
ผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง,
แม้ปรินิพพานนานแล้ว, พระองค์นั้น,
สัทธา อะคารัสสะมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว,
ตัสสะมิง ภะคะวะติ พรัหมะจะริยัง จะรามะ,
ประพฤติซึ่งพรหมจรรย์ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา,
ถึงพร้อมด้วยสิกขา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย,
ตังโน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ.
 
สำหรับอุบาสก อุบาสิกาสวด
(พระภิกษุ-สามเณร นั่งฟัง)
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
เราทั้งหลาย, ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,
แม้ปรินิพพานนานแล้ว, พระองค์นั้นเป็นสรณะ,
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ,
ถึงพระธรรมด้วยถึงพระสงฆ์ด้วย,
Though the Blessed One attained parinibbana long ago, we have reached the Buddha, and taken that Buddha, his Teachings (Dhamma), and his Disciples (Sangha) as our refuge and guidance.

ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง 
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ, 
จักทำในใจอยู่, ปฏิบัติตามอยู่,
ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง,
สา สา โน ปะฏิปัตติ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย,
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้เทอญ.
As strength allow us to practice and mindfulness in the Teachings of the Blessed One, may this practice lead us to the extinction of all sufferings.

(จบคำทำวัตรเช้า)  (end of morning chant)
*1234567*

*1234567*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น